![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1738906598_990375-ejan-768x402.jpg)
(6 ก.พ.68) สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า คณะนักวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลีย ประสบความสำเร็จในการ “สร้างตัวอ่อนจิงโจ้ผ่านกระบวนการปฏิสนธิหลอดแก้ว (IVF)” เป็นครั้งแรก ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในการอนุรักษ์สัตว์ชนิดนี้
![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1738905957_393650-ejan.jpg)
ผลการศึกษา ระบุว่า คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ได้อธิบายกระบวนการสร้างตัวอ่อนจิงโจ้ สายพันธุ์อีสเทิร์นเกรย์ (Eastern Gray) ด้วยการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่ที่เจริญเต็มที่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้กันทั่วไปในการปฏิสนธินอกร่างกายมนุษย์ที่เรียกว่าการฉีดอสุจิเข้าสู่เซลล์ไข่โดยตรง (ICSI)
![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1738905965_619915-ejan.jpeg)
ด้าน อันเดรส แกมบินี หัวหน้าทีมวิจัย กล่าวว่า “ความสำเร็จครั้งสำคัญนี้อาจช่วยสนับสนุนการอนุรักษ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ใกล้สูญพันธุ์ของออสเตรเลีย ซึ่งรวมถึงโคอาลา วอมแบท พอสซัม และแทสเมเนียนเดวิล โดยคณะนักวิจัยหวังว่าจะสามารถทำให้ตัวอ่อนจากกระบวนการนี้ลืมตาดูโลกสำเร็จภายในระยะเวลาสิบปี”
“ปัจจุบันคณะนักวิจัยกำลังปรับปรุงเทคนิคการเก็บ เพาะเลี้ยง และอนุรักษ์ไข่และอสุจิของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม” แกมบินี กล่าวเสริม
![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1738906075_578053-ejan.jpg)
ทั้งนี้ เหตุผลที่ทีมงานวิจัยเลือกใช้จิงโจ้ สายพันธุ์อีสเทิร์นเกรย์ เนื่องจากพวกมันมีจำนวนมากเกินไป และการฉีดอสุจิเข้าสู่เซลล์ไข่โดยตรงไม่ต้องการเซลล์อสุจิที่มีชีวิตจำนวนมาก ต้องการเพียงอสุจิหนึ่งตัวฉีดเข้าไปในไข่โดยตรงเท่านั้น ซึ่งแตกต่างจากการผสมพันธุ์เทียม
ขอบคุณข้อมูล : สำนักข่าวซินหัว (Xinhua)
https://english.news.cn/20250206/7535f8c5b29342daae01f8cca51b7cd3/c.html