
เนื่องจากผู้ป่วยฉุกเฉินมีหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่ควรได้รับการรักษาแบบบูรณาการที่มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว
เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตหรือพิการ
แม้ประเทศไทยจะมีโรงพยาบาลภายใต้สังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้ทั้งหมด 77 จังหวัด แต่การสร้างหน่วยให้บริการ ที่มีสมรรถนะสูงในการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินทุกประเภทได้อย่างบูรณาการและมีคุณภาพ ที่สามารถทำงานเชื่อมโยงใน การรับ-ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะให้บริการได้ 24 / 7 / 365 (ชม. / วัน / ปี) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ยังคงเป็นความท้าทายอย่างมากที่จะทำให้เกิดขึ้น

เพราะการที่จะสร้างหน่วยงานที่มี ความพร้อมดังกล่าวได้นั้น จำเป็นที่ต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ รวมทั้งงบประมาณจำนวนมาก รวมถึงต้องมีบุคลากรทาง การแพทย์ทุกวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญและสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างเป็นทีม
ถ้าเป็นผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือผู้ป่วยเจ็บป่วยที่รุนแรง หากรักษาช้าไปเพียง 8 นาที ผู้ป่วยก็จะมี โอกาสเสียชีวิต หรือถ้าช้าไปเพียง 4 นาที ก็จะกลายเป็นผู้ป่วยสมองตายหรือเป็นเจ้าหญิงเจ้าชายนิทรา
เพื่อเป็นต้นแบบของอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชวิถี ได้ผ่านการเตรียมการมานานร่วม 10 ปี มีการวางแผนและ ออกแบบแต่ละพื้นที่การใช้งานของหน่วยงานต่างๆ ภายใต้แนวคิดและหลักการ 10 ประการ เพื่อที่หน่วยงานทั้งหมดจะ สามารถร่วมกันทำหน้าที่ในการรักษาผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินทุกรูปแบบได้อย่างบูรณาการและจะเป็นต้นแบบในการ ป้องกันและดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินได้ต่อไป
โดยอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินหลังใหม่ ของ ร.พ.ราชวิถี เป็นอาคารสูง 12 ชั้น และใต้ดิน 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมดประมาณ 42,000 ตร.ม. จะเปิดให้บริการได้วันที่ 1 ธ.ค.68 ซึ่งสร้างจากแนวคิด 10 ประการดังนี้


แม้ระบบสาธารณสุขของประเทศไทยมีการแบ่งระดับโรงพยาบาลในการรักษาผู้ป่วย และ มีแนวทางในการรับ-ส่งต่อหาก ผู้ป่วยมีอาการเกินกว่าศักยภาพในการรักษาของโรงพยาบาล แต่ยังคงพบว่า มีความไม่พร้อมรับหรือมีการปฏิเสธรับผู้ป่วย จึงควรมีการพัฒนาหารูปแบบที่มีความเหมาะสม
อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลราชวิถีหลังใหม่นี้หากสามารถเปิด ให้บริการรักษาได้ครบทั้งหมดตามแผนที่ได้กำหนดไว้ จะมีทีมบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์ เครื่องมือทางการแพทย์ และสถานที่ที่พร้อมในการดูแลและรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินต่างๆที่จะเข้ามารับการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต เมื่อสามารถช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตรอดชีวิตได้และได้รับการรักษาที่จำเพาะแล้ว กว่าผู้ป่วยรายนั้นจะฟื้นตัวหายดีเป็น ปกติหรือใกล้เคียงปกติจะต้องใช้เวลานาน ดังนั้น จะมีการพัฒนาระบบส่งต่อไปดูแลรักษาต่อเนื่องในรพ.ระดับทุติยภูมิ หรือ รพ.ระดับปฐมภูมิ โดยทีมที่ให้การรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาลราชวิถีจะยังคงร่วมดูแลต่อเนื่อง ด้วยการให้คำปรึกษาผู้ป่วยผ่านระบบ telemedicine หรือหากเกิดปัญหาอาการเปลี่ยนแปลงที่มีความจำเป็น ก็จะรับย้ายกลับมารักษา ต่อที่ รพ.ราชวิถี รวมทั้งการนัดติดตามผลการรักษาผู้ป่วยเป็นระยะ เพื่อให้ผลลัพธ์สุดท้ายของการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตที่ ดีหรือเหมาะสมที่สุด

จากแนวคิดและหลักการที่ได้มีกำหนดไว้ตั้งแต่แรกในการสร้างอาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลราชวิถี ข้อที่ 10 คือ การเป็นโมเดลตัวอย่างของอาคารฉุกเฉินสำหรับระบบการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินของประเทศ มีเป้าหมายที่จะเป็น Trauma & Emergency Center Level 1 ซึ่งในมาตรฐานสากลจะเป็นสถานที่ที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีสมรรถนะสูงสุด ที่ จะให้การรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตได้ทุกรูปแบบอย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ มีการทำวิจัยและการฝึกอบรมถ่ายทอด ด้านวิชาการ รวมทั้งการพัฒนาต่อเนื่อง
ดังนั้น ทีมบุคลากรทางการแพทย์ในหน่วยต่างๆของโรงพยาบาลราชวิถีจะมาร่วมให้ การดูแลและรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินและดำเนินการให้เห็นเป็นผลสำเร็จภายใต้การใช้ทรัพยากรที่พอเพียงและคุ้มค่า ที่จะเป็น ต้นแบบที่สามารถขยายผลไปยังรพ.ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยหากเป็นไปได้ มีการพิจารณาเริ่มต้นให้มีอาคาร อุบัติเหตุและฉุกเฉินขั้นสูง (Trauma & Emergency Center Level 1) ในระดับภูมิภาค ภาคละ 1 แห่ง ที่ทุกแห่งจะทำงาน เชื่อมโยงกับโรงพยาบาลต่างๆที่อยู่ภายในภูมิภาคของตนเองอย่างเป็นระบบ และสามารถทำงานเชื่อมโยงกับอาคารอุบัติเหตุ และฉุกเฉินขั้นสูงต่างๆที่มีได้ เมื่อทำได้ภาคละ 1 แห่งแล้ว หากกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาว่า มีความจำเป็นและมี งบประมาณที่มากขึ้นที่จะต้องจัดสร้างเพิ่มเติมในภูมิภาคใด ก็ดำเนินการขยายจัดสร้างเพิ่มเติมได้ต่อไป
โรงพยาบาลราชวิถีที่พัฒนา ศูนย์กู้ชีพ “นเรนทร” โรงพยาบาลราชวิถี ให้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 10 มีนาคม 2538 และ ได้รับให้เป็นหน่วยงานที่ดูแลสายด่วน 1669 ในปี 2539 และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นต้นแบบที่ขยายผลไปทำให้เกิด การพัฒนาระบบการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินนอกโรงพยาบาลไปยังทุกจังหวัดได้มาแล้ว หากครั้งนี้ สามารถสร้างต้นแบบของ อาคารอุบัติเหตุและฉุกเฉินขั้นสูง T & E g C L v 1 ที่ขยายผลได้สำเร็จ ก็จะเป็นอีกหนึ่ง ภารกิจที่สำคัญของโรงพยาบาลราชวิถี สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
