ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น วิเคราะห์แผ่นดินไหวเมียนมา เป็น “แผ่นดินไหวคลื่นยาว”

ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น วิเคราะห์แผ่นดินไหวเมียนมา เป็น “แผ่นดินไหวคลื่นยาว” ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงและยาวนาน

เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 ที่มีศูนย์กลางเมียนมา ซึ่งสะเทือนถึงไทยเมื่อวันที่ 28 มี.ค. 68 เวลา 13.20 น. สร้างความเสียหายอย่างหนัก โดยไทยทำให้ตึกสูง 30 ชั้น ของสำนักงาน สตง. พังถล่ม มีผู้เสียชีวิตและผู้สูญหาย 



โดยเพจ JapanSalaryman ได้แชร์บทวิเคราะห์จากผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่เกิดเหตุแผ่นดินไหวบ่อย ดังนี้  

นักวิเคราะห์จาก Weathernews บริษัทเอกชนของญี่ปุ่นที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพยากรณ์อากาศและเตือนภัยชื่อดังของญี่ปุ่นพูดถึงแผ่นดินไหวฝนเมียนมาได้น่าสนใจ เลยสรุปมาให้ 

วิเคราะห์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นในเมียนมา 

– วันและเวลาที่เกิดเหตุ: แผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม เวลาประมาณ 15:20 น.ในเวลาญี่ปุ่น 

(13:20 ในเวลาประเทศไทย) 

-จุดศูนย์กลางอยู่ในเขต ตอนในของเมียนมา (Inland Area) 

-ขนาดแผ่นดินไหว (Magnitude) อยู่ที่ 7.7 

-ความลึกของศูนย์กลางแผ่นดินไหว (Hypocenter Depth) ประมาณ 10 กิโลเมตร 

-เนื่องจากแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในพื้นที่ตอนในของแผ่นดิน  

จึง ไม่มีการเกิดสึนามิ 

รายละเอียดทางเทคนิคเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผ่นดินไหว 

จาก USGS (United States Geological Survey) 

-จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวในภาพคือจุดสีส้มขนาดใหญ่และมีอาฟเตอร์ช็อกเกิดขึ้นตามมาในบริเวณใกล้เคียง 

-สาเหตุของแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจาก การเลื่อนตามแนวรอยเลื่อนแบบด้านข้าง (Strike-slip fault) 

-เนื่องจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใกล้ผิวดิน (ตื้นมาก) 

จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใกล้เคียงกันในอนาคต 

ความรุนแรงและผลกระทบที่เกิดขึ้น 

เมื่อดูในรายละเอียดเกี่ยวกับระดับความรุนแรงของแผ่นดินไหวจะเห็นว่า พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดมีระดับความรุนแรง 9 ตามมาตรามอดิฟายด์เมอร์คัลลี่  

(Modified Mercalli Intensity – MMI 9) 

หากแปลงเป็นระดับความรุนแรง 

ตามมาตราแผ่นดินไหวของญี่ปุ่น (Shindo Scale)  

จะเทียบเท่ากับ ระดับ 6+ (Shindo 6 強) 

ผลกระทบต่อประชากรในพื้นที่ 

-เมือง Sagaing ซึ่งมีประชากรประมาณ 71,900 คน 

-เมือง Meiktila ซึ่งมีประชากรประมาณ 177,000 คน 

พื้นที่เหล่านี้เป็นจุดที่ได้รับแรงสั่นสะเทือนรุนแรงระดับ 6+ ตามมาตราวัดของญี่ปุ่น 

-ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลรายละเอียดจากทางการเมียนมาเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต แต่คาดว่าความเสียหายทางมนุษย์จะอยู่ในระดับสูง 

ผลกระทบที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ประเทศไทย 

-นอกจากผลกระทบในเมียนมาแล้ว  

กรุงเทพฯ ประเทศไทย ซึ่งอยู่ห่างจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวประมาณ 1,000 กิโลเมตรก็ได้รับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้เช่นกัน 

-มีอาคารขนาดใหญ่ที่ถล่มลงขณะยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง 

-จากข้อมูลของพนักงานของ Weathernews สำนักงานกรุงเทพฯ มีรายงานว่า รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนอย่างชัดเจนและมีการอพยพฉุกเฉิน 

วิเคราะห์ความรุนแรงของแรงสั่นสะเทือนในกรุงเทพฯ 

-เมื่อวิเคราะห์แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นในพื้นที่กรุงเทพฯ จะพบว่าเทียบกับมาตราแผ่นดินไหวของญี่ปุ่นอยู่ที่ประมาณ ระดับ 3 ถึง 4 

-อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมาตรฐานการออกแบบโครงสร้างอาคารและมาตรการต้านแผ่นดินไหวในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน 

-แรงสั่นสะเทือนระดับนี้แม้จะไม่รุนแรงมากนัก แต่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออาคารสูงและโครงสร้างที่อาจไม่มีระบบป้องกันแผ่นดินไหวที่เหมาะสม 

ผลของแผ่นดินไหวคลื่นยาว (長周期地震動 / Long-period Ground Motion) 

-มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า อาคารสูงในกรุงเทพฯ สั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องและรุนแรง ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวคลื่นยาว (Long-period Ground Motion) 

-คลื่นแผ่นดินไหวระยะยาวมีความถี่ต่ำและสามารถเดินทางได้ไกล  

-อาคารสูงที่มีความยืดหยุ่นมักจะเกิด การสั่นพ้อง (Resonance) กับคลื่นแผ่นดินไหวระยะยาว ส่งผลให้เกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงและยาวนาน 

-แผ่นดินไหวคลื่นยาว สามารถเดินทางได้ไกลกว่าคลื่นแผ่นดินไหวทั่วไปและทำให้เกิดความเสียหายในพื้นที่ที่อยู่ไกลจากศูนย์กลางแผ่นดินไหว เช่น ในกรณีของกรุงเทพฯ 

ที่สถานีวัดแผ่นดินไหวที่ Kagoshima ประเทศญี่ปุ่น ตรวจพบคลื่นแผ่นดินไหวระยะยาวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเมียนมา 

-แม้ว่าคลื่นแผ่นดินไหวจะเดินทางมาถึงญี่ปุ่น แต่แรงสั่นสะเทือนลดลงจนไม่ได้รับการบันทึกเป็นแผ่นดินไหวรุนแรงในญี่ปุ่น 

-อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ยืนยันว่า แผ่นดินไหวคลื่นยาวจากเมียนมาเดินทางไกลและส่งผลกระทบในระยะไกลถึง 1,000 กิโลเมตร 

ข้อกังวลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในอนาคต 

-เนื่องจากแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดจาก รอยเลื่อนแบบด้านข้างตื้น (Shallow Strike-slip Fault) จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใกล้เคียงกันในอนาคต 

จึงขอให้ติดตามข้อมูลและข่าวสาร 

เกี่ยวกับแผ่นดินไหวอย่างใกล้ชิด 

Cr: weathernews 

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก JapanSalaryman