“ดอกจูด” ขุมทรัพย์ล้ำค่า ดอกหญ้าริมทาง

กระจูด พืชทำเงินของคนใต้ จากดอกหญ้าริมทาง สู่งานหัตถกรรมสร้างชื่อ

วัฒนธรรมของแต่ละภาค บ่งบอกความเป็นอยู่และเอกลักษณ์ของคนท้องถิ่นนั้นๆได้เป้นอย่างดี
เช่นเดียวกับ คนใต้ กับพืชทำเงิน กระจูด หรือดอกจูด
ดอกจูด คนใต้เรียกติดปากว่า ดอกกระจูดนั่นเอง เป็นพันธ์ไม้จำพวก “กก” ลักษณะของลำต้นจะเป็นลมๆสีเขียวอ่อน สูงประมาณ 1-2 เมตร จะออกเป็นดอกกระจุกคล้ายๆดอกกระเทียม

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน


ดอกกระจูดชอบขึ้นในพื้นที่น้ำขังเรียกว่า โพระ หรือ พรุ บริเวณข้างทาง หรือป่าแอ่งน้ำ ต้นกระจูดสามารถนำมาสร้างผลิตภัณฑ์ของใช้เป็นงานจักสาน เช่น เสื่อปูรองนั่ง เรียกว่าเสื่อกระจูด หรือ สาดกระจูด ที่เราเห็นกันบ่อย

ภาพจากอีจัน


การสานเสื่อกระจูดนั่นโดยทั่วไปจะนิยมสานลวดลาย มาตรฐาน คือ ลายขัดสอง หรือ ลายขัดสาม และมีการพัฒนาดัดแปลงลวดลาย เช่น ลายลูกแก้ว ลายดาวล้อมเดือน ลายดอกจันทร์ ลายก้านต่อดอก ลายโคม ลายแก้วเนื่อง ลายแก้วบ้านดอน ลายตัวหนังสือและมีการทำผลิตภัณฑ์ เช่น สายกระเป๋าเครื่องใช้ต่าง ๆ ใช้ทำใบเรือ ทำเชือกผูกมัด

ภาพจากอีจัน


ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากดอกจูด ปัจจุบันมีให้เลือกหลากหลาย ทั้งเครื่องประดับของใช้ ที่สร้างชื่อและแสดงความเป็นเอกลักษณ์ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งแหล่งที่ผลิต แหล่งใหญ่ๆ อยู่ที่หมู่บ้านทะเลน้อยจังหวัดพัทลุง หมู่บ้านบ่อกรัง จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่บ้านสะกอม จังหวัดสงขลา หมู่บ้านทอนทอน จังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันมีการผลิตจำหน่ายมาก ใน ตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

ภาพจากอีจัน