
แพทย์เชี่ยวชาญด้านสมอง วิเคราะห์ “ทรัมป์” โชว์กึ๋นในการเจรจาทำให้ “ถือแต้มต่อ” ทุกประเทศ ปมปรับมาตรการภาษีสหรัฐฯ – แนะ 6 วิธีรับมือแบบที่ไม่ต้องตามเกม
(4 เม.ย. 68) ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์เชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์ ถึงการวิเคราะห์กลยุทธ์การสร้างอำนาจต่อรองของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่ออกมาประกาศปรับมาตรการภาษีนำเข้าครั้งใหญ่ – ใช้การเจรจา “ถือแต้มต่อ” อย่างชาญฉลาด ระบุว่า

Trump เล่นเกมส์ “เขย่าโต๊ะ” เพื่อสร้างอำนาจต่อรอง และบีบให้คู่เจรจาเข้าสู่โต๊ะเจรจาในจุดที่เขาได้เปรียบมากที่สุด
เคยอ่านหนังสือเทคนิคนี้ ใน Art of the Deal ทรัมป์พูดถึงการใช้ “Leverage” หรือแต้มต่อที่มีในการต่อรอง และมักใช้วิธีการกดดันอย่างแข็งกร้าวเพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามยอมเจรจา หรือยอมถอย โดยการขึ้นภาษีก็เหมือนกับการ “เปิดเกมใหญ่” เพื่อเขย่าความมั่นคงของอีกฝ่าย แล้วใช้ความไม่แน่นอนเป็นอาวุธต่อรอง
คือ สิ่งที่เราต้องทราบถึงจุดหมายการทำตัว บ้า ๆ บวม ๆ กล้าลุยคือ การทำให้เกิดความไม่แน่นอนและความกลัว มันประหลาดดี แต่นี่คือจิตวิทยาที่ได้ผล

สรุปหลักมาให้ Art of the Deal (ศิลปะแห่งการเจรจา)
1. คิดใหญ่ (Think Big) เขาเดิมพันสูง เพราะถ้าจะเหนื่อยทั้งที ควรเหนื่อยกับของใหญ่ที่คุ้มค่า
2. ใช้ Leverage (แต้มต่อ) อย่างชาญฉลาด คือเขาบีบให้เข้ามาเจรจา การเจรจาที่ดีคือการรู้ว่าเราถือไพ่อะไร และใช้มันให้ถูกจังหวะ เช่น การขึ้นภาษีกับจีนก็เป็น “ไพ่ต่อรอง” ไม่ใช่เป้าหมายสุดท้าย
3. สร้างความไม่แน่นอน (Unpredictability) บ้า ๆ คือไม่แน่นอน และทรัมป์มักใช้ความไม่แน่นอนให้เป็นประโยชน์ Art of the Deal (ศิลปะแห่งการเจรจา)
4. ทำให้ตัวเองดูเหมือนเป็นผู้ชนะเสมอ (Always look like a winner) นักสร้างภาพลักษณ์ ก็นี่แหละ สไตล์ Elin เลย ภาพลักษณ์คือทุกสิ่ง ต้องทำให้ดูเหมือนประสบความสำเร็จ แม้จะยังไม่สำเร็จจริง เพื่อให้คนเชื่อและตาม
5. รู้จักจัดการกับสื่อ (Control the narrative) หากติดตามนะ เค้าสื่อสารเร็ว สื่อสารหนัก ให้อยู่ในสื่อ กระแส เขาจะ “ขายเรื่องราว” ของตัวเองให้สื่อ และใช้สื่อเป็นเครื่องมือกดดันอีกฝ่าย
6. อย่ากลัวที่จะเดินออกจากดีล (Be ready to walk away) ด้วยบุคลิกไม่แน่นอน เค้าใช้เป็นแต้มต่อ ถ้าดีลไม่คุ้ม หรืออีกฝ่ายไม่ยอมตาม เขาพร้อมจะ “เท” การเจรจา เพื่อแสดงว่าเขาไม่กลัวความล้มเหลว

คำถามคือ รู้แล้วยังไงต่อ?
คนสไตล์ “Art of the Deal” แบบนี้จริง ๆ มันก็ พอมีวิธีรับมือนะ
1. อย่าเล่นตามเกมส์ (Don’t get emotional or reactive) คนแบบนี้มักใช้แรงกดดันให้เราเสียสมดุล เช่น ข่มขู่, เล่นใหญ่, บีบด้วยเวลา ถ้าเรา “ตกใจ” หรือ “โกรธ” เราจะพลาดง่าย ต้องใจเย็นและมีแผนที่ชัดเจน
2. รู้ให้ทันเกม (Understand their leverage and intention) มองให้ออกว่าเขาใช้แต้มต่ออะไร และเขาต้องการอะไรจริง ๆ บางทีเสียงดังหรือบีบเราแรง ๆ ก็เพื่อให้เรารีบยอมข้อเสนอที่เขาเตรียมไว้แล้ว ตกใจมาก เสียเปรียบ
3. มีจุดยืนของตัวเอง (Know your own BATNA) BATNA = Best Alternative To a Negotiated Agreement = ถ้าไม่ตกลง ดีลที่เรายอมรับได้ที่สุดคืออะไร ต้องรู้จุดถอยและจุดที่ยอมไม่ได้ อันนี้ มัน art มาก ต้องคนเชี่ยวชาญ รู้เขารู้เรา แนวขงเบ้ง
4. ใช้ “ความนิ่ง” เป็นอาวุธ (Silence and patience are power) คนที่เร่งให้เราตัดสินใจทันที มักกลัว “ความนิ่ง” เพราะมันหมายถึงว่าเราไม่กลัว การนิ่งคือการ reclaim power
5. โยนกลับด้วยคำถาม (Answer pressure with questions) ถ้าเขาใช้ความกดดันใส่เรา ลองถามกลับ เช่น “คุณว่าเงื่อนไขนี้แฟร์กับทั้งสองฝ่ายหรือไม่?” “ถ้าเราไม่ตกลงหละ คุณจะมีทางเลือกอย่างไรไหม?” วิธีนี้บีบ ทำให้เขาต้องคิดและเปิดไพ่ก่อน
6. อย่ากลัวที่จะ “เดินออกจากดีล” เหมือนเขา ต้องกล้าแสดงให้เห็นว่า เราไม่จำเป็นต้องได้ดีลนี้ก็ได้ ถ้าเงื่อนไขไม่แฟร์ — เมื่อเขารู้ว่าเรา “ไม่กลัว” เกมจะเปลี่ยน


แล้วลูกเพจคิดอย่างไร? ควรเดินตามเกมของทรัมป์หรือไม่?
ขอบคุณข้อมูล : เฟซบุ๊ก สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์