กทม.เคาะแล้ว 16 กพ.นี้ เริ่มเก็บค่า บีทีเอส ไม่เกิน 104 บาท ตลอดสาย

ปรับลดแล้วนะ! กทม.เคาะแล้ว 16 กพ.นี้ เก็บค่า บีทีเอส ไม่เกิน 104 บาท ตลอดสาย ลดลงจาก 158 บาท แก้สัมปทานผ่าน จะลดลงอีก?

ในช่วงโควิดนี้ไม่มีใครปฎิเสธ ว่าเราต่างอ่วมอรทัยไปกับค่าใช้จ่าย ที่เพิ่มขึ้น แม้รายรับจะลดลง
ล่าสุดข่าวนี้สำหรับผู้โดยสายบีทีเอส สำหรับคนที่นั่งไปกลับสุดสาย จากที่เคยจ่าย 158 บาท วันนี้ค่าโดยสารลดลงแล้วนะ
วานนี้ 15 ม.ค. เพจเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์ ประกาศว่า กรุงเทพมหานคร เรื่องการกำหนดค่าโดยสารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยมีคำชี้แจงต่อการปรับอัตราค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมด

ขอบคุณภาพ วิกีพีเดีย


จากที่กทม.ได้เปิดเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต โดยทยอยเปิดเดินรถตั้งแต่ 3 เม.ย.61 และเปิดเต็มทั้งระบบเมื่อ 16 ธ.ค.63 ซึ่งในช่วงทดลองให้บริการที่ยังไม่มีการเดินรถเต็มรูปแบบโดยไม่มีการเก็บค่าบริการมาเกือบ 3 ปีแล้ว เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน แต่เมื่อขณะนี้ได้เปิดเดินรถทั้งระบบแล้ว กทม.มีภาระค่าใช้จ่ายในการเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จึงจำเป็นต้องเริ่มเก็บค่าโดยสารในส่วนต่อขยาย ตั้งแต่ 16 ก.พ.64 โดยผู้ใช้บริการในส่วนหลักช่วงหมอชิต-อ่อนนุช จะไม่ได้รับผลกระทบ ยังจ่ายค่าโดยสารในอัตราเดิมและไม่มีการเรียกเก็บค่าแรกเข้าซ้ำซ้อนกัน ระหว่างสายสีเขียวส่วนหลัก (หมอชิต-อ่อนนุช และสะพานตากสิน-สนามกีฬาแห่งชาติ) และสายสีเขียวส่วนต่อขยาย (ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า และอ่อนนุช-แบริ่ง และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) โดยผู้ใช้บริการจะจ่ายค่าแรกเข้าสำหรับการใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเขียวเพียงครั้งเดียวต่อรอบ ตามปรากฏดังตารางด้านล่างนี้


ภาพจากอีจัน



ทั้งนี้ อัตราค่าโดยสารของโครงการสายสีเขียวสูงสุดตลอดสายจะอยู่ที่ 158 บาท แต่เพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประชาชนภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 กทม. จะปรับอัตราค่าโดยสารสูงสุดตลอดสายอยู่ที่ 104 บาท ซึ่ง กทม. จะมีผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายประมาณปีละ 3,000-4,000 ล้านบาท เมื่อนับรวมตั้งแต่ปี 64 จนถึงปี 72 จะมีผลขาดทุนถึงประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท รายละเอียดปรากฏตามตารางเปรียบเทียบด้านล่างนี้

ภาพจากอีจัน


ที่ผ่านมา กทม.ได้ตระหนักถึงผลกระทบของประชาชนกับการปรับค่าโดยสาร โดยพยายามหาทางแก้ไข รวมถึงศึกษาแนวทางต่างๆ ซึ่ง กทม. เห็นว่าแนวทางร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP) เหมาะสมและดีที่สุดที่จะมาแก้ปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยจะให้เอกชนเข้ามารับภาระหนี้สินของ กทม. เพื่อที่จะทำให้ กทม. สามารถกำหนดอัตราค่าโดยสารที่ไม่เป็นภาระต่อประชาชนจนเกินสมควร และ จะทำให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะที่ปลอดภัย สะดวก และมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม

ปัจจุบันนี้ กทม. อยู่ระหว่างนำเสนอแก้ไขสัญญาสัมปทานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งหากเห็นชอบแล้ว การแก้ไขสัญญาสัมปทานนี้จะช่วยลดอัตราค่าโดยสารสูงสุดจาก 104 บาท เป็น 65 บาท ลดลง 39 บาท และแก้ไขภาระหนี้สินกว่า 120,000 ล้านบาทของ กทม. ได้

ซึ่งประกอบด้วย ภาระหนี้สินเดิมที่เกิดขึ้นจากการรับโอนโครงการส่วนต่อขยายที่ 2 ทั้งในส่วนเงินต้นค่างานโยธาที่ประมาณ 55,000 ล้านบาทและภาระดอกเบี้ยในอนาคตอีกประมาณ 10,000 ล้านบาท ค่าลงทุนในงานระบบ (E&M) ในส่วนต่อขยายที่ 2 ประมาณ 20,000 ล้านบาท ภาระหนี้ค่าจ้างงานเดินรถค้างจ่ายอีกประมาณ 9,000 ล้านบาท และภาระผลขาดทุนจากการดำเนินการส่วนต่อขยายตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2572 รวมอีกประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท นอกจากนี้ เอกชนยังต้องแบ่งส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารหลังปี 2572 ให้ กทม. อีกกว่า 200,000 ล้านบาท และมีส่วนแบ่งเพิ่มเติมในกรณีที่ผลประกอบการจริงดีกว่าที่คาดการณ์ตอนเจรจา

กทม. ยืนยันว่า ภายใต้อำนาจของ กทม. จะพยายามแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอย่างดีที่สุดเพื่อให้ลดผลกระทบและความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด โดย กทม. จะอธิบายถึงเหตุผลความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนต่อรัฐบาล เพื่อที่จะให้สามารถปรับอัตราค่าโดยสารให้ค่าโดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวตลอดสายลดลงมาเหลือ 65 บาทโดยเร็วที่สุด

ภาพจากอีจัน


เอาเป็นว่าต้องลุ้นว่าการคาดการจะเป็นจริงไหม อนาคตเราจะควักกระเป๋าน้ยลงหรือใหม่ เป็นสิ่งที่ต้องลุ้น