อ.เจษ ตอบคำถาม กินถังเช่าบำรุง หรืออันตราย ชี้กินได้เเต่ต้องดูร่างกายตัวเอง

คลายสงสัยถังเช่าอันตรายไหม? อ.เจษ ตอบคำถาม กินถังเช่าบำรุง หรืออันตราย ชี้กินได้เเต่ต้องดูร่างกายตัวเองด้วย

ช่วงที่ผ่านมา หลายคนคงจะคุ้นหูกับอาหารเสริมบำรุงร่างกาย อย่างถั่งเช่า ที่มีการโฆษณากันหลายแบรนด์ ด้วยสรรพคุณบำรุงร่างกาย

เเต่ในขณะเดียวกัน ก็มีข่าวออกมาหลังจาก มีผู้ป่วยที่กินอาหารเสริมจากถังเช่า ถังเช่าเเล้วมีผลกระทบกับร่างกาย ทำให้ไตทำงานหนัก จนหมอต้องสั่งห้ามกิน

ล่าสุด รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์" อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความชี้เเจงรายละเอียดบนเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า

"กินถั่งเช่า เป็นอันตรายหรือไม่"

คำถามจากทางบ้านครับ ว่า "เห็ดถั่งเช่าที่เขากินกัน มันไม่อันตรายเหรอ มันเป็นแค่เชื้อราที่ทำลายสัตว์อื่นนี่" … คำตอบคือ มันเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง ที่ก็มาจากเชื้อราเจริญเติบโตบนซากหนอน มีสรรพคุณเชิงเภสัชสมุนไพรหลายอย่าง และสามารถบริโภคได้ ถ้าไม่กินเยอะเกินไป หรือมีอาการแพ้ รวมถึงผู้ป่วยบางโรค ครับ

“ถั่งเช่า” หรือที่เรียกกันว่า “หญ้าหนอน” นั้น ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นตัวหนอนของผีเสื้อ (Hepialus armoricanus Oberthiir) และส่วนที่เป็นเห็ด (Cordyceps sinensis (Berk.) Saec.) ในฤดูหนาว หนอนจะฝังตัวจำศีลอยู่ใต้ดินภูเขาหิมะ เมื่อน้ำแข็งเริ่มละลาย ตัวหนอนเหล่านี้ก็จะกินสปอร์เห็ดเข้าไป และเมื่อฤดูร้อน สปอร์ก็เริ่มเจริญเติบโตเป็นเส้นใยโดยอาศัยการดูดสารอาหารและแร่ธาตุจากตัวหนอนนั้น เห็ดเหล่านี้งอกขึ้นสู่พื้นดิน ลักษณะคล้ายไม้กระบอก ส่วนตัวหนอนจะค่อย ๆ ตายไป อยู่ในลักษณะของหนอนตายซาก

“ถั่งเช่า” ถือได้ว่าเป็นยาสมุนไพรที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในประเทศจีนนานนับศตวรรษ ถั่งเช่าอุดมไปด้วยสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ ได้แก่ โพลีแซคคาไรด์ (galactomannan), นิวคลีโอไทด์ (adenosine, cordycepin), cordycepic acid, กรดอะมิโน และสเตอรอล (ergosterol, beta-sitosterol) นอกจากนี้ยังประกอบด้วยสารอาหารสำคัญอื่น ๆ เช่น โปรตีน วิตามินต่างๆ ( Vit E, K, B1, B2 และ B12) และแร่ธาตุต่าง ๆ (โพแทสเซียม โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก สังกะสี และซิลิเนียม) เป็นต้น (ดูรายละเอียดเรื่อง กรณีศึกษาเกี่ยวกับฤทธิ์ของถั่งเช่าต่อ การกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ลดระดับน้ำตาลในเลือด การฟื้นฟูระบบการทำงานของไต จากลิงค์ของคณะเภสัช มหิดล ด้านล่าง)

แต่ถั่งเช่าก็มีข้อควรระวังในการบริโภคคือ

1. ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้ จะไปเสริมฤทธิ์กับยาลดน้ำตาลในเลือด
2. ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มป้องกันการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เนื่องจากถั่งเช่ามีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด
3. ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive) ทั้งนี้เพราะว่าถั่งเช่ามีฤทธิ์กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน
4 . ขนาดบริโภคของผู้ใหญ่ (อายุมากกว่า 18 ปี) ในแต่ละวัน ประมาณ 3-9 กรัม ชงกับน้ำร้อน หรือประกอบอาหาร ขนาดการใช้ที่มากเกินไปอาจจะก่อเกิดผลเสียได้
5. การใช้ในหญิงมีครรภ์ หญิงในนมบุตร และในเด็ก ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ
และ 6. ห้ามใช้ในคนที่แพ้เห็ด Cordyceps ผู้ป่วยที่มีอาการหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจผิดปกติ

(ปล. เพิ่มเติมว่า นอกจากกลุ่มของคนที่ปลูกถ่ายอวัยวะและกินยากดภูมิแล้ว กลุ่มของคนไข้ที่มีเชื้อ HIV ต่ำ เช่น มีค่า CD4 น้อยกว่า 200 ก็ควรที่จะหลีกเลี่ยงเช่นกัน เพราะอาจจะเกิดปัญหาการติดเชื้อราได้)

(ปล2. อย่าสับสนกับ "ว่านจักจั่น" นะครับ ถึงจะหน้าตาคล้ายกัน แต่อันตรายมาก เคยมีเคสคนที่กินแล้วตายก็มี)

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ก่อน อ.เจษ จะทิ้งท้ายอีกว่าที่เขียนถึงในบทความนี้ คือ "ถั่งเช่าทิเบต" ซึ่งเป็นเชื้อราที่อยู่ในหนอนผีเสื้อจากทิเบตนะครับ แต่ถังเช่าที่ขายกันในบ้านเราราคาไม่แพงนั้น มักจะเป็น "ถังเช่าสีทอง" ที่เพาะเลี้ยงในขวดได้ และพบว่ามีสารเคมีบางตัวที่มีผลต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคไตด้วย ฉะนั้น จะกินก็ต้องระวังเหมือนกันนะครับ นั่นหมายความว่า คนที่กำลังกินอยู่ ต้องดูสุขภาพตัวเองด้วยนะคะ