ไขข้อสงสัย! “รอยเลื่อนสะกาย” ฉายายักษ์หลับกรุงเมียนมาคืออะไร?

ไขข้อสงสัย! “รอยเลื่อนสะกาย” ฉายายักษ์หลับกรุงเมียนมาคืออะไร หลังเกิดปรากฏการณ์หลังแผ่นดินไหวในประเทศเมียนมา และสะเทือนมาถึงประเทศไทย

วันนี้ ( 28 มี.ค.68) เวลา 13:20 น. ตามเวลาประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า เกิดแผ่นดินไหว ประเทศเมียนมา ขนาด 7.7 ลึก 10 กม. ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 326 กม.

‘อีจัน’พาทุกคนมาทำความรู้จักกับ “รอยเลื่อนสะกาย” ยักษ์หลับกลางกรุงเมียนมา รอยเลื่อนที่มีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของอาเซียน หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ที่เกิดในเมียนมาเเละรู้สึกแรงสั่นสะเทือนถึงประเทศไทย  

หลังจากเหตุการณ์เกิดแผ่นดินไหวที่เมียนมาขนาด 7.7 เเละรู้สึกสั่นไหวถึงประเทศไทยในหลายภาคและหลายพื้นที่ จนได้รับผลกระทบกันทั่ว

รอยเลื่อนสะกายคืออะไร?

รอยเลื่อนสะกาย (Sagaing Fault) ถือเป็นหนึ่งในรอยเลื่อนมีพลัง (active fault) ที่สำคัญอันดับต้น ๆ ในอาเซียนบ้านเรา ซึ่งคำว่า Sagaing Fault สมัยก่อนคนไทยเคยอ่าน “รอยเลื่อนสะเกียง” ต่างชาติอ่าน “รอยเลื่อนสะแกง” ต่อมาชาวเมียนมาบอกว่า บ้านเขาเรียกว่า “รอยเลื่อนสะกาย” ทุกวันนี้จึงสรุปเรียกให้ตรงกันว่า “รอยเลื่อนสะกาย” ตามเจ้าของพื้นที่

จากบทความ รอยเลื่อนสะกาย ยักษ์หลับกลางเมืองพม่า จาก สันติ ภัยหลบลี้ และ สัณฑวัฒน์ สุขรังสี (2557) ประเมินเกี่ยวกับรอยเลื่อนสะกาย ไว้ว่า…

รอยเลื่อนสะกาย มีความยาวประมาณ 1,200 กิโลเมตร วางตัวอยู่ในแนวเหนือ-ใต้ ผ่ากลางอกประเทศพม่า และพาดผ่านแทบทุกเมืองที่สำคัญของเมียนมา  เริ่มจากเมืองมิตจีนา มัณฑะเลย์ ตองยี เนปิดอว์ พะโค ย่างกุ้ง ทั้งยังยังลากยาวต่อลงไปในทะเลอันดามัน ตลอดแนวรอยเลื่อนสะกาย พบภูมิประเทศที่แสดงถึงการปริแตกของเปลือกโลกอยู่หลายแบบ เช่น ผารอยเลื่อน เนินเขาขวาง หนองน้ำยุบตัว (sag pond) ทางน้ำหัวขาด (beheaded stream) และทางน้ำหักงอ (offset stream) ซึ่งภูมิประเทศเหล่านี้ช่วยยืนยันว่า รอยเลื่อนสะกายมีการเลื่อนตัวแบบเหลื่อมข้างชนิดขวาเข้า (dextral strike-slip fault)

ผลจากการเลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกาย ทำให้เกิดแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ซึ่งฐานข้อมูลแผ่นดินไหวที่ได้จากเครื่องมือตรวจวัด ( Instrumental Records) ระบุว่าในช่วงปี พ.ศ. 2507-2555 (48 ปี) เคยเกิดแผ่นดินไหวหลัก (Mainshock) บริเวณรอบๆ รัศมี 100 กิโลเมตรจากรอยเลื่อนสะกายประมาณ 276 เหตุการณ์ โดยมีขนาดแผ่นดินไหวระหว่าง 2.9-7.3 ริก เตอร์ ซึ่งจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหวในแต่ละขนาดตามหลัก สมการความสัมพันธ์กูเต็นเบิร์ก-ริกเตอร์ ( Gutenberg และ Richter, 1944) พบว่าแผ่นดินไหวบริเวณ รอยเลื่อนสะกายนั้นมีความสัมพันธ์

แผนที่ประเทศพม่าและพื้นที่ข้างเคียงแสดงการวางตัวของรอยเลื่อนสะกาย และตำแหน่งเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่สำคัญ (ดาวแดง) และ แผ่นดินไหวที่ตรวจวัดได้จากเครื่องมือตรวจวัด ภาพถ่ายดาวแสดงลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแนวสันเส้นตรงของรอยเลื่อนสะกาย บริเวณทางตอนเหนือของเมืองมัณฑะเลย์และตอนใต้ของเมืองเนปิดอว์ตามลำดับเวลาการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ตามแนวรอยเลื่อนสะกาย

หลังจากแผ่นดินไหวไปในช่วงบ่ายวันนี้ ตอนนี้อาจเกิด อาฟเตอร์ช็อก ขึ้นได้อีก ทุกคนระวังกันด้วยนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก กรมอุตุฯ https://www.facebook.com/share/p/16HDdRT2Fv/

บทความวิชาการเพื่อเสนอตีพิมพ์ในวารสาร “อุตุนิยมวิทยา” seismo-doc-1422078707.pdf