
อากาศเย็นๆ ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไม่มีเมฆ ไม่มีฝน เป็นใจให้เรามองเห็น " ดาวเคียงเดือน "
โดยในวันนี้ (19 พ.ย.63) เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์ชวนคนไทย ร่วมชม ปรากฏการณ์ ดาวเคียงเดือน และ ดาวเคราะห์ชุมนุม
ซึ่งหลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว ดาวพฤหัสบดีจะปรากฏเคียงดวงจันทร์ ใกล้กันมากที่สุด 3 องศา เวลา 18.40 น.นอกจากนี้ ยังมีดาวเสาร์ปรากฏเคียงดวงจันทร์เช่นกัน ห่าง 4.2 องศา
ในขณะเดียวกันดาวเสาร์และดาวพฤหัสบดี ปรากฏบนท้องฟ้าห่างกัน 3.2 องศา ซึ่งปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า “ ดาวเคราะห์ชุมนุม ”
สำหรับใครที่อยากชม ดาวเคียงเดือน ในคืนนี้ ก็สามารถสังเกตได้ตั้งแต่ช่วงหลังดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าเป็นต้นไป ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ บริเวณกลุ่มดาวคนยิงธนู (Sagittarius) จนถึงเวลาประมาณ 21.00 น.
