ผอ.สบอ.9 ลงพื้นที่ห้วยศาลา หารือปัญหาที่ดินทำกินราษฎร

นายชัยวัฒน์ ผอ.สบอ. 9 อุบลราชธานี ลงพื้นที่ห้วยศาลา ร่วมหารือ เรื่องจัดสรรที่ดินทำกินให้ราษฎร พร้อมแนะแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

พื้นที่ทำกินของราษฎร และพื้นที่ป่ายังคงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ

วานนี้ 30 ก.ย. 63 นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สบอ. 9 อุบลราชธานีร่วมรับฟังปัญหาที่ดินทำกินกับกรรมาธิการการที่ดิน ทส. ในพื้นที่ ขสป. ห้วยศาลา ณ ชุมนุมบ้านห้วยจันทร์ จ. ศรีษะเกษ

ซึ่งในการประชุมมีนายอภิชาติ ศิริสุนทร ปธ.กรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมด้วยคณะ รับฟังปัญหาที่ดินทำกิน จากชาวบ้านชุมชนบ้านห้วยจันทร์

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

ประเด็นสำคัญในการหารือสรุปได้ดังนี้ราษฎรขอที่ดินทำกินคืน ใน
แปลงปลูกป่าของ ออป. (องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้)และกรมป่าไม้ ซึ่งขณะนี้ มีการรังวัดไปหนึ่งแปลงแล้ว อีกหนึ่งแปลง ออป. ยังไม่ได้โอนพื้นที่ ให้กรมป่าไม้ เพื่อดำเนินการ ให้ คทช. จัดการที่ดินทำกินให้ราษฎร ที่มีคุณสมบัติต่อไป ประเด็นนี้สรุปว่าส่วนของกรมอุทยานฯ ได้ชี้แจง พื้นที่ที่ราษฎรได้สิทธิ์ทำกินได้ จะเร่งสำรวจและรอเข้าคณะกรรมการระดับจังหวัด ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

อีกหนึ่งประเด็นก็คือราษฎรขอให้เร่ง สร้างอ่างเก็บน้ำห้วยจันทร์ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งอ่างเก็บน้ำนี้อยู่ในเขตพื้นที่ กรมป่าไม้ และอ่างเก็บน้ำนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงาน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2567
ประเด็นนี้สรุปได้ว่าปัญหาเนื่องจาก ชาวบ้านขอค่าเวนคืนเพิ่ม ตามเศรษฐกิจ ซึ่ง ผอ.สบอ. 9 ได้ชี้แจง ให้ชาวบ้านไม่มีที่ทำกิน โดยหากชาวบ้านเป็นผู้ยากจน,ยากไร้,ไร้ที่ทำกินจริง ให้ผู้ใหญ่บ้านรับรองและยื่นหนังสือเพื่อขอพื้นที่ทำกิน และเข้าสู่กระบวนการตาม คทช. ต่อไป

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

และเวลา 14.00 น. วันเดียวกัน นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สบอ.9 เป็นประธาน ปล่อยสัตว์ป่า ในโครงการ
"ส่งสัตว์คืนวนา เพื่อป่าสมบูรณ์"
โดยมีหน่วยงานราชการฝ่ายปกครอง จ.ศรีสะเกษ นักเรียน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โรงเรียนนาตราว และโรงเรียนจำปานวง รวมมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 150 คน
ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประชากรสัตว์ป่าในพื้นที่ และรักษาระบบนิเวศห่วงโซ่อาหารของสัตว์ป่า กิจกรรมนี้ นำสัตว์ป่าจากศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่าจุฬาภรณ์ จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ กวางป่า จำนวน 9 ตัว, ไก่ป่า จำนวน 69 ตัว รวม 78 ตัว การดำเนินกิจกรรมได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และการหารือดังกล่าวก็มีทางออกที่ชัดเจนชาวบ้านจะได้มีที่ทำกิน และมีรายได้เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันต่อไป

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน