น้ำผึ้งดอกลำไยเดือนห้า แห่งบ้านชัยพฤกษ์ เลี้ยงตามวิถีเก่าแก่

ทำไมถึงเรียกน้ำผึ้งเดือนห้า น้ำผึ้งเดือนห้ามีความพิเศษอย่างไร? ติดตามได้ในวิถีเก่าแก่ บ้านชัยพฤกษ์

ออกตามหาน้ำผึ้งเดือนห้า ในตำนานที่เล่าขานกันมาว่า น้ำผึ้งเดือนห้าแท้100% มีอยู่จริงหรือไม่ อีจันตลาดแตกพามาดูถึงหมู่บ้านชัยพฤกษ์ ต.ดอนศิลา อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ที่บ้านชัยพฤกษแห่งนี้ เป็นแหล่งปลูกลำไยอันดับต้นๆของ จ.เชียงราย ใช้ชื่อกลุ่มว่า “ลำไยแปลงใหญ่บ้านชัยพฤกษ” ลำไยส่วนใหญ่ในพื้นที่นี้ เป็นสายพันธุ์อีดอ และมีสายพันธุ์ชมภูผสมนิดหน่อย แค่พอกินไม่ได้ออกขาย ส่วนพันธุ์อีดอ ก็จะมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อไปทำลำไยอบแห้งแทน ก่อนช่วงที่ลำไยจะให้ผลผลิต ดอกของลำไยก็มีประโยชน์ กับผึ้งป่าที่ออกหาอาหารเพื่อสร้างรังอีกด้วย

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
มาถึงเรื่องของ น้ำผึ้งดอกลำไยเดือนห้า หรือที่เรียกสั้นๆว่า น้ำผึ้งเดือนห้านั้น มีอยู่จริงที่หมู่บ้านชัยพฤกษแห่งนี้ ทีมอีจันตลาดแตกบุกมาหาคำตอบให้ทุกคน เราจึงมาถามเกษตรกรในพื้นเพื่อให้กระจ่าง เราได้พูดคุยกับ แม่ยม หรือ นิยม แสงคำ เจ้าของสวนสวรรค์ แห่งหมู่บ้านชัยพฤกษ์ ที่เรียนรู้วิธีการเลี้ยงผึ้งป่าให้มีคุณภาพ จากผู้เฒ่าผู้แก่ในชุมชนและนำมาพัฒนาเป็น “แปลงใหญ่ผึ้งโพรงบ้านชัยพฤกษ์” น้ำผึ้งที่เลี้ยงโดยวิธีธรรมชาติ ให้ผึ้งได้มีอิสระในการหาน้ำหวานจากดอกลำไย
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ทำไมเรียกถึง น้ำผึ้งเดือนห้า? เพราะน้ำผึ้งช่วงที่ดีที่สุดคือ น้ำผึ้งที่เก็บเกี่ยว ตั้งแต่เดือน มีนาคม ไปจนถึง พฤษภาคม นั้นก็คือเดือนที่ห้า ของปีนั่นเอง
ภาพจากอีจัน
ทำไมน้ำผึ้งช่วงเดือนที่ห้าของปีจึงดีที่สุด? เพราะในช่วงเดือนตุลาคม ไปจนถึง กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่ ลำไยเริ่มออกดอกเพื่อให้ผลผลิต ผึ้งที่อาศัยอยู่ภายในป่าก็จะเริ่มออกหาน้ำหวานเพื่อสร้างรัง ชาวบ้านจึงนำ กล่องไม้หรือท่อ ที่มีรูเล็กๆ ภายในปิดมิดชิด มาวางไว้ตามจุด ใต้ต้นลำไย เพื่อให้ผึ้งป่ากลุ่มนี้เข้ามาทำรัง สภาพอากาศในช่วงนี้ เป็นฤดูหนาว เข้าสู่ฤดูร้อน มีความชื้นน้อย เมื่อผึ้งออกหาน้ำหวานแล้วกลับมาที่รัง นำที่ติดมากับเท้าของผึ้งก็จะมีปริมาณที่น้อย ทำให้ได้น้ำผึ้งที่เข้มข้น และออกรสชาติของดอกไม้นั้นๆ ได้ชัดเจนขึ้น เพราะฉะนั้นในช่วงฤดูฝนจะยังไม่เก็บน้ำผึ้ง จนกว่าจะเข้าฤดูหนาวไปจนถึงฤดูร้อน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
การเก็บเกี่ยวน้ำผึ้งตามวิถีโบราณ ผึ้งป่าที่อยู่ภายในกล่องนั้น ให้ผลผลิตทุกๆ 3 เดือน ตลอดทั้งปี ชาวบ้านจะเก็บออกมา โดยไม่รมควันให้ผึ้งหนี แต่จะใช้วิธีค่อยๆสะบัด แบบเบามือ และจะเก็บเพียง 80 % ของรังผึ้งทั้งหมดเพื่อให้ผึ้งยังคงอยู่ภายในกล่องนี้ต่อได้
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
หลังจากเก็บรังผึ้งมาแล้วจะนำรังมาแขวนไว้เพื่อให้น้ำผึ้งหยดออกมาเอง ใช้เวลาประมาณ 3 วันน้ำผึ้งก็จะออกจากรังเกือบหมด น้ำผึ้งรอบนี้เรียก ”น้ำผึ้งน้ำหนึ่ง” หลังจากนั้นเกษตรกรก็จะทำการบีบคั้นอีกนิดหน่อย นำผึ้งรอบนี้จะเรียก “น้ำผึ้งน้ำสอง” น้ำหนึ่งและน้ำสองมีความแตกกันที่ช่วงเวลาการเก็บรักษา น้ำผึ้งน้ำที่หนึ่งนั้นสามารถเก็บได้นานโดยที่รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนน้ำผึ้งน้ำที่สอง มีการสัมผัสโดยการบีบคั้นนั้น จะทำให้น้ำผึ้งมีอายุที่สั้นลงและมีสีที่จืดจางกว่า เก็บไว้นานๆรสชาติจะออกเปรี้ยว
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ทั้งหมดนี้เป็นภูมิปัญญาพื้นถิ่นของชาวหมู่บ้านชัยพฤกษ ที่มีการส่งต่อจากผู้เฒ่าผู้แก่มาสู่รุ่นลูก เพราะนอกจากจะปลูกลำไยแล้ว ยังมีน้ำผึ้งที่ช่วยเป็นรายได้เสริมให้กับคนในชุมชนได้อีกทาง
ภาพจากอีจัน