หมอฟันงงเป็นแถว ปมโคเคนในบอส ชี้โคเคนในยาชา ไม่ใช้มาแล้ว 50 ปี!

เพจทันตแพทย์สวนดราม่า “โคเคนที่พบในตัวบอส กระทิงแดง” ชี้โคเคนในยาชา ไม่ใช้มาแล้ว 50 ปี จี้ พนง.สอบสวนบอกชื่อ รพ.ไหนที่ยังใช้ คนไข้จะได้ระวัง!

ยังไงกันแน่ ยิ่งแจงยิ่งดราม่า ยิ่งแจงยิ่งลึก สำหรับคดีทายาทเครื่องดื่มชูกำลัง บอส อยู่วิทยา คดีขับรถชนตำรวจเสียชีวิตเมื่อปี 2555 หลังจากที่สำนักอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง และล่าสุดพนักงานสอบสวน คดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร เผยสาเหตุที่ไม่แจ้งข้อหา เพราะไม่พบสารแปลกปลอมที่เกิดจากยาเสพติดในร่างกายของผู้ต้องหา ทั้งที่ทางมีผลตรวจทางนิติเวชวิทยายืนยันจากการตรวจเลือดของนายวรยุทธ โดยให้เหตุผลว่า ทันตแพทย์ยืนยันว่า ได้ให้ยาที่มีส่วนผสมของโคเคนในการรักษาทำฟัน?


แต่คำชี้แจงกลับสร้างความแคลงใจให้กับสังคมไม่น้อย เมื่อล่าสุดเพจเฟซบุ๊กทันตแพทย์หลายเพจ อย่างเช่นเพจ ห้องทำฟันหมายเลข 10 ซึ่งเป็นเพจออกมาโพสต์ถึงกรณีดังกล่าวโดยให้ข้อมูลว่า ไทม์แมชชีนมาแน่นอน
หนึ่งในยาที่ใช้มากที่สุดในทางทันตกรรม คือ ยาชา โดยยาชาตัวแรกที่นำมาใช้ทางการแพทย์คือโคเคน (cocaine) ในปี ค ศ. 1859 (150 ปีมาแล้ว!!!) แต่ด้วยข้อเสียของ โคเคนที่มีระยะเวลาการออกฤทธิ์สั้น
และมีฤทธิ์เสพติด จึงมีการพัฒนายาที่มีสูตรโครงสร้างคล้ายโคเคน ชื่อ Procaine ขึ้นในปี ค. ศ. 1904
แต่ในปีค.ศ. 1948 มีการนำยาชาที่มีสูตรโครงสร้างต่างไปจาก cocaine และ procane ได้แค่ lidocaine และมียาชาที่พัฒนาต่อเนื่องตามมาได้แค่ mepivacaine (ค.ศ. 1965) prilocaine (ค.ศ. 1983;ยาชนิดนี้ไม่มีใช้ในประเทศไทย) และ articaine (ค.ศ. 2000)โดยยาชาทั้งสามกลุ่มนี้มีสูตรโครงสร้างคนละแบบกับโคเคน รวมทั้งกระบวนการขับยาออกจากร่างกายก็ได้สารเคมีคนละกลุ่มกับ โคเคน

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

เช่นเดียวกับเพจ ใกล้หมอฟัน ที่เห็นพ้องต้องกันว่า โคเคนไม่ได้ใช้ในทางทันตกรรมมานานแล้ว โดยระบุว่า การรักษาทางทันตกรรมปัจจุบันเราไม่ใช้โคเคน มีการใช้โคเคนเมื่อร้อยกว่าปีก่อน เพื่อใช้ระงับอาการปวดจากการทำฟันตัวแรกๆ แต่โคเคนได้เสื่อมความนิยมลงเพราะขนาดที่ใช้รักษาใกล้เคียงกับขนาดที่เป็นพิษและฤทธิ์เสพติด ซึ่งไม่มีการใช้แล้วในปัจจุบันสำหรับใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ในงานทันตกรรม การรักษาทางทันตกรรมโดยเฉพาะการใช้ยาชาเฉพาะที่ ในปัจจุบัน จะใช้สารที่พัฒนาจากโคเคน ที่มีความปลอดภัย หรือมีพิษน้อยกว่า เช่น ลิโดเคน เมพิวาเคน อะทิเคน ซึ่งยาชาที่เราฉีด จะไม่ฉีดเข้าเส้นเลือด แต่จะฉีดเพื่อให้ยาซึมซับระงับอาการเจ็บปวดบริเวณฟัน หรือเส้นประสาทตรงบริเวณนั้น

(อ้างอิงจากเอกสารสอนทันตกรรมเรื่องยาชาในทางทันตกรรม ,อาจารย์ อุดมรัตน์ เขมาลีลากุล ,ภาควิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก,คณะทันตแพทยศาสตร์ ,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,http://web1.dent.cmu.ac.)

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน

ซึ่งตอนนี้สังคมต่างจี้ถามพนักงานสอบสวนว่า ว่าโรรงพยาบาลทันตกรรมที่บอสได้ไปทำฟันในวันนั้นคือโรงพยาบาลอะไร จะได้รู้ว่าหากไปทำฟันที่โรงพยาบาลนั้น คนไข้จะมีสารเสพติดอยู่ในร่างกาย!