ศบค.เผยมติประชุมเห็นชอบเลื่อน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ออกไปอีก 1 เดือน ป้องกันการระบาดรอบ 2

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เผยที่ประชุมมีมติ ต่อเวลา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 1 เดือน ถึง 31 พ.ค.63 ยังเข้ม 4 มาตรการตามเดิม ส่วนการผ่อนปรนจะพิจารณาตามความเหมาะสม หากไม่เวิร์คเลิกได้ทันที ย้ำไม่อยากให้เกิดการระบาดรอบ 2!

วันนี้ (27 พ.ค. 2563) ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เเถลงความคืบหน้า การเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 27 เมษายน 2563 ประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 9 ราย รักษาหายรวม 2,609 ราย ยอดสะสมเป็น 2,931 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย (รวม 52 ราย) แม้ภาพรวมจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่คณะที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบ ให้ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินออกไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 พ.ค. 2563

ภาพจากอีจัน

โดยโฆษก ศบค.เผยว่าทางเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติได้นำเสนอ การประเมินผลการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน 2548 หลังจากมีข้อกำหนดใช้มา 1 เดือน ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพทำให้ผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง บวกกับหน่วยงานค้นการข่าวได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนมากกว่า 40,000 คน พบว่าประชาชนมากกว่าร้อยละ 70% เห็นด้วยกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของรัฐบาล

เห็นควรพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรออกไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1-31 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ภาพจากอีจัน

และคงมาตรการตาม 4 ข้อกำหนดตามเดิมคือ

1.ควบคุมการเดินทางเข้าราชอาณาจักร
ควบคุมเข้าราชอาณาจักร ทางบก ,ทางน้ำ ,ทางอากาศ (ขยายการงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตท่าอากาศยานบินเข้าสู่ประเทศไทยเป็นการชั่วคราวออกไปอีก ตั้งแต่ 1-31 พ.ค. 2563
2.งดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดโดยไม่มีเหตุจำเป็น
3.ห้ามบุคคลออกนอกเคหสถาน (Curfew) ห้ามประชาชนเข้าไปในพื้นที่หรือสถานที่ซึ่งเคหสถาน (Curfew) ระหว่างเวลา 23.00 น.- 04.00 น.
4.งดการดำเนินกิจกรรมคนหมู่มาก ห้ามบุคคลใดทั่วราชอาณาจักรออกนอก มีคนจำนวนมากไปทำกิจกรรมร่วมกันหรือเสียงต่อการแพร่โรคคิดชื้อโควิด-19 เป็นการชั่วคราว

ภาพจากอีจัน

แต่สิ่งที่ทางรัฐบาลจะผ่อนปรนให้คือ

-แนวคิดในการดำเนินการต้องคำนึงถึงปัจจัยทางค้นสาธารณสุขเป็นหลักและนำปัจจัยอื่นมาประกอบการพิจารณา
– ร้อยละ 50% ของการทำงานที่บ้านยังคงอยู่

วิธีการดำเนินการ
-พิจารณาจากประเภทของกิจกรรมที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในลำดับแรกและทุกคนต้องสวมหน้ากาก
-กำกับให้กิจกรรมต้องประกอบด้วย 1.การเว้นระยะห่างทางสังคม 2.การวัดอุณหภูมิ 3.แอลกอฮอล์ยาเชื้อเจลล้างมือ 4.จำกัดจำนวนคนในกิจกรรมให้เหมาะสมต่อกิจกรรมและสถานที่ 5.มี application ติดตามตัว (หากเป็นไปได้ หรือการลงทะเบียน
สิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป
-เร่งรัดการตรวจเชื้อโรคโควิด -19 ให้กับประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
-มีการใช้เทคโนโลยีติดตาม เพื่อตรวจตรากิจกรรมควบคู่กันไปอย่างมีประสิทธิภาพ

การประเมินผล (กำหนดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ตามวงรอบทุก 14 วัน )
– ควบคุมได้ดีขึ้น สามารถผ่อนคลายมาตรการเพิ่มเติม + ขยายพื้นที่
-หากไม่ดีขึ้น : ระงับมาตรการผ่อนคลายในทันที

ภาพจากอีจัน

ทั้งนี้เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีการเสนอแนวทางการผ่อนปรนในธุรกิจต่างๆ ซึ่งจะพิจารณาตามความเสี่ยงของสถานการประกอบการ เช่น สถานที่ที่เปิดโล่งความเสี่ยงแพร่เชื้อน้อย ก็จะได้รับพิจารณาก่อน ส่วนสถานที่ปิดทึบมีการติดแอร์อาจจะต้องมีการพิจารณาอีกครั้งตามความเหมาะสม ซึ่งทางนายกรัฐมนตรีย้ำยังอยากให้สถานประกอบการเปิดพร้อมกันทั่วประเทศ ต้องขึ้นอยู่การประเมินอีกครั้ง