สมาคมโรคติดเชื้อ ไม่เเนะนำให้ ปชช. ซื้อเครื่องตรวจโควิดมาใช้เอง

สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย แนะ ปชช. ไม่ควรซื้อเครื่องตรวจโควิดมาใช้เอง ชี้ แปลผลตรวจยาก ควรใช้ภายใต้คำแนะนำผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

(20 เมษายน 2563) เปิดคำแนะนำเรื่องการตรวจ rapid antibody test ในการวินิจฉัยโรค COVID-19
สมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย และ สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย แนะนำดังนี้
1. จากข้อมูลปัจจุบัน การตรวจด้วยวิธี NAAT เช่น RT-PCR จากสารคัดหลั่งทางเดินหายใจ เป็นวิธีมาตรฐานที่มีความไวและความจำเพาะมากที่สุดในการวิฉัยโรคในผู้ที่กำลังมีอาการที่สงสัยว่อาจเป็นโรด COVID-19
2. ไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไป ซื้อชุดตรวจ rapid antibody test มาตรวจด้วยตนเอง เนื่องจากแปลผลการตรวจได้ยาก จึงควรใช้ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

ภาพจากอีจัน
3. ไม่แนะนำให้บุคลากรทางการแพทย์ นำชุดตรวจ rapid antibody test มาใช้ในเวชปฏิบัติทั่วไป เพื่อการวินิฉัยโรคในผู้ป่วยที่สงสัย COVD-19 ยกเว้นเพื่อการทำวิจัย หรือการศึกษาทางระบาดวิทยา 4. การตรวจ rapid antibody test อาจมีประโยชน์ช่วยในการวินิจฉัยโรค ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงและอาการทางคลินิกเข้าได้กับ COVD-19 แต่ผลการตรวจ NAAT ให้ผลลบ ซึ่งอาจจะพบได้ในระยะท้ายของโรคที่ผู้ป่วยเริ่มมีภาวะแทรกซ้อน 5. การแปลผลการตรวจ rapid antibody test นั้นต้องอาศัยข้อมูลทางคลินิกเพิ่มเติม เนื่องจากมีข้อจำกัดและข้อควรระวังหลายประการตังต่อไปนี้ 5.1 False positive test อาจเกิดจาก – การติดเชื้อ coronavirนs ที่ไม่ใช่ SARS- Cov-2 – ผู้ป่วยเคยมีการติดเชื้อ SARS-C๐ข-2 ในอดีตและหายจากโรคแล้ว 5.2 False negative test อาจเกิดจาก – การติดเชื้อในระยะเฉียบพลัน เนื่องจาก rapid antibody test มีความไวต่ำในระยะแรกของโรค โดยจะให้ผลเป็นบวกหลังจากผู้ป่วยมีอาการแล้ว 7-14 วัน – ผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น การได้รับยากดภูมิคุ้มกัน 6. ในกรณีที่ผู้ป่วยหรือบุคลากรทางการแพทย์ ได้รับการตรวจด้วยวิธี rapid antibody test มาก่อน ไม่ว่าผลการตรวจ rapid antibody test จะให้ผลเป็นบวกหรือลบก็ตาม ให้แพทย์พิจารณาปฏิบัติดังนี้ 6.1 พิจารณาส่งตรวจ N เพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรค โดยประเมินความจำเป็นในการส่งตรวจจากความเสี่ยงและอาการทางคลินิกเป็นหลัก 6.2 หากพิจารณาส่งตรวจ NAAT ควรแนะนำให้ผู้ป่วยแยกตัวระหว่างรอผลการตรวจ 6.3 หากผล NAAT ให้ผลบวก ให้ปฏิบัติการดูแลรักษาตาม CPG ของกระทรวงสาธารณสุข 6.4 หากผล NAAT ให้ผลลบ แนะนำให้ปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้ – ผู้ป่วยทั่วไป แนะนำให้แยกตัวอย่างน้อย 14 วัน และติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด พิจารณาส่งตรวจ NAAT ซ้ำหากมีอาการมากขึ้น – บุคลากรทางการแพทย์ หากมีอาการ แนะนำให้งดปฏิบัติงานจนกว่าจะหายจากอาการ ดังกล่าว และอาจพิจารณาส่งตรวจ NAAT ซ้ำ หากอาการแย่ลง แต่หากไม่มีอาการ สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ ติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด และอาจพิจารณาส่งตรวจ NAAT ซ้ำเมื่อเริ่มมีอาการ
ภาพจากอีจัน