แพทย์เเนะวิธีการดูเเลสุขภาพจิต ช่วงวิกฤติถาโถม

สู้วิกฤติยังไงให้ใจไม่ป่วย? เเพทย์แนะนำ 8 วิธี ดูเเลสุขภาพจิตท่ามกลางการต่อสู้กับวิกฤติ อย่าเอาความกังวลไปผูกวิกฤติ ทำให้จิตอ่อน

ท่ามกลางวิกฤติของโรคระบาด ความกังวลกับสถานการณ์ในช่วงเวลานี้ หลายคนคงมีคำถามมากมาย เมื่อไหร่โรคนี้จะหมดไป เเล้วเมื่อไหร่สถานการณ์จะกลับมาปกติ เราจะต่อสู้กับช่วงเวลาแห่งความยากลำบากนี้อีกนานเเค่ไหน

รู้หรือไม่ความกังวลเหล่านี้ ส่งผลกระทบกับสุขภาพจิต เเละอาจจะส่งผลให้ร่างกายเราเเย่ตาม

วันนี้จันจึงมีวิธีการดูเเลคุณภาพจิตมาเเนะนำการดูแลสุขภาพจิตช่วงการระบาดของโควิด-19 ข้อมูลจาก "Mental health and psychosocial considerations during COVID-19 outbreak" โดยองค์การอนามัยโลก แนะนำว่า

ภาพจากอีจัน

1.ดูแลตนเองในช่วงเวลานี้ โดยพักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารให้เพียงพอและถูกสุขอนามัย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ติดต่อกับครอบครัวและเพื่อนฝูงอย่างต่อเนื่องอาจลองทำงานอดิเรกใหม่ ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน

2.ไม่ตีตราหรือเรียกผู้ป่วยที่เป็นโควิด-19 ด้วยถ้อยคำรุนแรง เช่น "ไอ้โควิด""ครอบครัวโควิด" หรือ "ตัวเชื้อโรค" เพราะเขาเป็นเพียง "คนที่ป่วยด้วยโควิด" เท่านั้น ซึ่งหลังจากหายป่วยจากโรคแล้วพวกเขาก็จะกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ

3.ลดการดู การอ่าน หรือการฟังข่าวที่ทำให้รู้สึกวิตกกังวลเกินไป ไม่หลงเชื่อข่าวลือเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น เช่น องค์การอนามัยโลก กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ

4. อัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับโรคเพียง 1-2 ครั้งต่อวันเท่านั้น เพราะกระแสข่าวต่าง ๆ ที่หลั่งไหลมาเร็วตลอดเวลาสามารถทำให้ทุกคนรู้สึกกลัวกังวลได้ง่าย ๆ การอ่านข้อมูลจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้จะช่วยให้คุณแยกแยะข้อเท็จจริงจากข่าวลือ ซึ่งข้อเท็จจริงช่วยลดความวิตกกังวลได้

5. ปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อป้องกันตัวเองและคนที่คุณรักอย่างเคร่งครัด เช่น ล้างมือบ่อย ๆ ไม่เอามือแตะหน้า ไอจามปิดปาก อยู่บ้าน เว้นระยะห่างจากผู้อื่น สวมหน้ากากอนามัย รวมทั้งกักตัวเมื่อเจ็บป่วย เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นของตนเองในการป้องกันโรค

6.ปกป้องตนเองและช่วยเหลือผู้อื่น แบ่งปันในสิ่งที่ทำได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ ผู้พิการ คนไร้บ้านผู้บกพร่องทางสติปัญญา

7. หาโอกาสในการพูดถึงเรื่องราวในเชิงบวกของผู้อื่นที่เคยป่วยเป็นโควิด-19 เช่น การแชร์เรื่องราวของผู้ที่หายป่วย หรือเรื่องราวของผู้ที่เคยดูแล ผู้ป่วยจนหายดีแล้ว

8.ให้เกียรติผู้ดูแลและผู้ปฏิบัติงานทางสาธารณสุขที่กำลังรักษาผู้ป่วยและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

ที่มา อ.นพ.ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร