ผู้ว่าฯ บึงกาฬสั่งล็อคดาวน์ คุมเข้มคนเข้า-ออกจังหวัด

7-30 เม.ย.63 บึงกาฬล็อคดาวน์จังหวัด คุมเข้มคนเข้า-ออกในพื้นที่ เว้นเพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาล และบุคคลต้องมีใบอนุญาตจากหน่วยงานราชการ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แพร่ระบาด อย่างรวดเร็ว และกว้างขวางไปหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย จังหวัดบึงกาฬจึงได้มีมาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากติดเชื้อโควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการปิดสถานที่ที่อาจเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ย่านสถานที่ท่องเที่ยว สถานบริการ สนามกีฬา เป็นต้น

และผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดคำนึงเห็นว่าจังหวัดบึงกาฬ ไม่ใช่เส้นทางหลักในการสัญจรของประชาชนในการเดินทางระหว่างจังหวัด และหากมีการเดินทางข้ามเขตจังหวัดโดยไม่มีความจำเป็นจะทำให้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อแพร่ขยายมากยิ่งขึ้น ประกอบกับประชาชนในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ มีความตระหนักในการป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด- 19 จึงมีความจำเป็นในการยกมาตรการเฝ้าระวังวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่ออันตราย และดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬเพิ่มขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 และข้อ 7(1) ของข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 ฉบับที่ (1) ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563 และ (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2563

ภาพจากอีจัน

ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อบึงกาฬ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563 จึงออกคำสั่งดังต่อไปนี้

1.ห้ามบุคคลใดเดินทาง- ออก ในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ เว้นแต่ เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาล การทำให้ปลอดภัยจากเชื้อโรค การควบคุมป้องกันโรค การขนส่งสินค้าที่จำเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทางการเกษตร ปศุสัตว์ อาหารสัตว์ แก็สหุงต้ม น้ำมันเชื้อเพลิง การไปรษณีย์ อุปกรณ์เครื่องมือเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น ยานพาหนะเพื่อการขนส่งยา อุปกรณ์วัสดุ เวชภัณฑ์เคมีภัณฑ์ทางการแพทย์ ยานพาหนะเพื่อการฉุกเฉินทางการแพทย์ กู้ชีพ กู้ภัยฉุกเฉิน รถพยาบาล ยานพาหนะ เพื่อการขนส่งเงินของธนาคาร สถาบันการเงิน ยานพาหนะเพื่อส่งวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรก่อสร้าง ชิ้นส่วนประกอบซ่อมบำรุง ยานพาหนะเพื่อขนส่งพัสดุและสิ่งพิมพ์ เป็นต้น

2. บุคคลทั่วไปที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งต้องเดินทางเข้า – ออกจากพื้นที่บึงกาฬต้องได้รับอนุญาตจากบุคคลดังต่อไปนี้
2.1.กรณีเดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอท้องที่หรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมาย ในท้องที่ด่านตรวจคัดกรองตั้งอยู่ ทั้งนี้ คำขออนุญาตให้เป็นไปตามแบบฟอร์ม 2 ท้ายคำสั่งนี้
2.2 ) กรณีเดินทางจากพื้นที่เข้าบึงกาฬ ต้องได้รับอนุญาตจากนายอำเภอท้องที่หรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมาย ในท้องที่ที่ผู้ขออนุญาตมีภูมิหรือมีถิ่นที่อยู่ ทั้งนี้ คำขออนุญาตให้เป็นไปตามแบบฟอร์ม 2 ท้ายคำสั่งนี้

ภาพจากอีจัน

3.กรณีเป็นราชการ พนักงานราชการ และถูกจ้างของหน่วยราชการ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือพนักงานบริษัท หรือลูกจ้างของบริษัท ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชนต้นสังกัดออกหนังสือรับรองการปฏิบัติงานที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้า-ออก พร้อมบัตรประจำตัวราชการหรือบัตรประจำตัวพนักงาน แสดงต่อเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจเพื่อให้พิจารณาให้บุคคลนั้นเดินทางเข้า – ออกในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ

4.กรณีบุคคลใด (ยกเว้นบุคคลตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3)ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ และเคยผ่านการกักตัว ณ สถานที่กักตัวที่รัฐบาลจัดให้ (State Quarantine) หรือผ่านการกักตัว ณ สถานที่ที่จังหวัดอื่นมาแล้ว (Local Quarantine) ให้นายอำเภอใช้มาตรการในการกักตัว ณ บนของตนตามภูมิลำเนาของบุคคลนั้น (Home Quarantine) หรือสถานที่อื่นที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดบึงกาฬกำหนด

5.ห้ามมีให้รถโดยสารสาธารณะ เดินทางเข้า – ออก ในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ ดังนี้
5.1. ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระงับการเดินรถเส้นทาง หมวด 2 (กรุงเทพ- ต่างจังหวัด) และหมวด 3 (ระหว่างจังหวัด) ที่มีต้นทางหรือปลายทางในเขตพื้นที่บึงกาฬ
5.2. ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ประจำทางด้วยรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารระงับการเดินเข้าออกในเขตพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ

ทั้งนี้ ให้บุคคลที่ได้รับยกเว้นให้เดินทางเข้า -ออก บึงกาฬจังหวัดบึงกาฬอยู่ภายใต้บังคับของข้อกำหนดซึ่งออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2558 (ฉบับที่ 7) และ (ฉบับที่ 2) และต้องปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันโรคตามที่ทางราชการกำหนดโดยเคร่งครัด โดยการอนุญาตให้บุคคลเดินทางเข้า – ออกพื้นที่จังหวัดบึงกาฬนั้น ให้เจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจจัดทำบัญชีควบคุมการเดินทางเป็นประจำทุกวัน ตามแบบฟอร์ม 3 ท้ายคำสั่งนี้ และให้ส่งนายอำเภอประจำห้องที่ที่จุดตรวจนั้นตั้งอยู่เก็บไว้เป็นหลักฐาน

ภาพจากอีจัน

เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน หากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้งตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่กินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 25588 และอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกฉิน พ.ศ.2558 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 เมษายน 2563 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563