ขยายปลดระวางเเม่ไก่ แก้วิกฤติไข่แพง

เเม่ไก่ต้องยืนกรงออกไข่นานกว่าเดิม เเล้วเสริมเเม่ไก่ใหม่เข้าไป เร่งผลิตไข่ให้ได้ 44 ล้านฟองต่อวัน

นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ไข่ไก่ที่มีปัญหาเรื่องการกักตุนอันเนื่องมาจากความวิตกกังวลของพี่น้องประชาชนการประกาศเคอร์ฟิวส์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิค-19 ส่งผลให้ราคาไข่ไก่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากการตรวจสอบล่าสุด พบว่า สถานการณ์การกักตุนไข่ไก่เริ่มลดลง และมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากประชาชนไม่ตื่นตระหนกและไม่กักตุนสินค้าทำให้ราคาเริ่มเข้าภาวะปกติ แล้ว

ภาพจากอีจัน
อย่างไรก็ตาม ตนยืนยันว่าปริมาณไข่ไก่มีเพียงพอสำหรับการบริโภคของประชาชน เนื่องจากไก่ที่จะออกไข่ต้องเลี้ยงให้ได้ 18 สัปดาห์ ขณะนี้มีจำนวนไก่ประมาณ 50 ล้านตัว ผลิตไข่ไก่ได้ 40-41 ล้านฟอง ข้อมูลสำรวจเมื่อวันที่ 20 มี.ค.2563
ภาพจากอีจัน
ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้หารือร่วมกับเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่มีมาตรการในการเลี้ยงยืดอายุแม่ไก่ให้ปลดระวางเกินอายุ 80 สัปดาห์ ซึ่งสามารถยืดอายุแม่ไก่ไปได้ถึง 90 สัปดาห์ และคาดว่าจะมีไก่ไข่ยืนกรงเพิ่มขึ้นสัปดาห์ละประมาณ 1 ล้านตัว มีผลผลิตปริมาณไข่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณ 8-9 แสนฟองต่อวัน สะสมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงสิ้นเดือนเมษายนนี้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม จากมาตรการในการยืดอายุไก่ไข่ยืนกรงทำให้ปริมาณไก่ไข่ยืนกรงเพิ่มขึ้นเป็น 53 ล้านตัว สามารถผลิตไข่ไก่ได้ 44 ล้านฟองต่อวัน ตนคาดว่าจะเพียงพอต่อการบริโภคของประชาชนในภาวะปกติที่ไข่ไก่เฉลี่ยวันละ 39 ล้านฟอง (220 ฟองต่อคนต่อปี)
ภาพจากอีจัน
“อีกสองสัปดาห์ แม่ไก่จาก 49 ล้านตัวจะเพิ่มขึ้นมาเป็น 53 ล้านตัว เพราะเราจะขยายการปลดระวางแม่ไก่ออกไป และมีแม่ไก่ใหม่มาเพิ่มอีก ซึ่งจะทำให้กำลังการผลิตไข่ไก่มีมากถึงวันละ 44 ล้านฟอง นอกจากนั้น เรายังสั่งห้าม ไม่ให้มีการส่งออกไขไก่ ไปยังต่างประเทศ เพื่อไม่ให้ ไข่ไก่ล้นตลาด หากยังกักตุนและขายเกินราคา อยู่ระวังไข่ไก่ออกมาเยอะๆ จะทำให้คนที่ชอบกักตุนมีปัญหาอีก เพราะมาตรการที่เราดำเนินการทั้งหมดจะทำให้ไข่ไก่มีเพียงพอและตอนนี้คนทั่วไปก็เข้าใจแล้วว่ามันไม่จำเป็นต้องกักตุนเพราะไข่ไก่ไม่ได้ขาดตลาดแล้ว เชื่อว่าราคาไข่ไก่จะลดลงและเป็นไปตามกลไกอย่างแน่นอน จึงของเตือนพวกชอบกักตุนไขไก่ ระวังจะประสบปัญหาการขาดทุน” นายประภัตร กล่าว
ภาพจากอีจัน
นายประภัตร กล่าวด้วยว่า กระทรวงเกษตรฯ มีการดำเนินการในการรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ตั้งแต่ปี 2561 มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีเป้าหมายในการปรับสมดุลปริมาณการผลิตไข่ไก่ให้สอดคล้องกับความต้องการของบริโภค โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เพื่อให้ราคาไข่ไก่มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน โดยไม่เกิดผลกระทบต่อผู้บริโภคอย่างแน่นอน