นักวิทย์โนเบล ชี้ ผู้ป่วยโควิด-19 ติดเชื้อซ้ำ ‘เกิดยากมาก’

ปีเตอร์โดเฮอร์ที นักภูมิคุ้มกันวิทยา ชี้ โอกาสที่ผู้ป่วยโควิด-19 จะติดเชื้อซ้ำ ‘เกิดยากมาก’

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2563 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ปีเตอร์โดเฮอร์ที (Peter Doherty) นักภูมิคุ้มกันวิทยา เจ้าของรางวัลโนเบลชาวออสเตรเลีย กล่าวว่าการที่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่หายดีแล้ว จะกลับมาติดเชื้อซ้ำนั้น เป็นเรื่องยากอย่างยิ่งที่จะเกิดขึ้น หรือหากเกิดกรณีเช่นนั้นขึ้นจริง อาการของการติดเชื้อซ้ำจะไม่รุนแรงหรือไม่ปรากฎอาการ

โดเฮอร์ระบุในการสัมภาษณ์กับสำนักข่าวชินหัวอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร โดยชี้แจงว่าการทดสอบพีซีอาร์ (PCR) หรือเทคนิคหนึ่งที่ใช้ในการตรวจหาเชื้อไวรัสนั้น สามารถตรวจจับได้ว่องไวมาก

ภาพจากอีจัน

ส่วนประเด็นที่ว่า เหตุใดจึงมีรายงานผู้ที่มีผลตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาเป็นบวก หลังถูกปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาล ก็เพราะว่าในผู้ป่วยบางรายที่หายป่วยในทางคลินิกนั้น เชื้อไวรัสไม่ได้ถูกขจัดไปจนหมด แม้จะเคยมีผลตรวจก่อนหน้าออกมาเป็นลบก็ตาม

สิ่งที่อาจสนับสนุนแนวคิดเรื่องการติดเชื้อซ้ำ คือ ประเด็นที่ว่าห้องปฏิบัติการค้นพบความแตกต่างที่มีนัยสำคัญของลำดับยีน ระหว่างกลุ่มเชื้อไวรัสระยะต้นกับกลุ่มเชื้อระยะปลายหรือไม่ แน่นอนว่าเรารู้จักไวรัสตัวนี้เพียงช่วงสั้นๆ และเป็นไปได้ว่าเราจะได้เจอกับเรื่องที่น่าประหลาดใจที่เราไม่ค่อยอยากเจออีกหลายประการ

ภาพจากอีจัน
ทั้งนี้ โดเฮอร์ที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบล สาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในปี 1996 ร่วมกับ รอล์ฟ ซิงเคอร์นาเกล (Rolf Zinkernagel) นักวิทยาศาสตร์ชาวสวิตเชอร์แลนด์ หลังจากทั้งสอง ค้นพบเกี่ยวกับความจำเพาะของกลไกป้องกันของภูมิคุ้มกันชนิดพึ่งเซลล์ และบทบาททางชีวภาพของบริเวณที่เป็นที่ตั้งของกลุ่มยีน (MHC) ขณะที่สถาบันโรคติดเชื้อและภูมิคุ้มกันปีเตอร์ โดเฮอร์ ซึ่งได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติต่อโดเฮอร์ที่นั่น ยังมีส่วนร่วมในการวิจัยไวรัสชนิดนี้และการพัฒนาวัคซีนด้วย

ขณะนี้วัคชีนทดลอง ยังอยู่ระหว่างกระบวนการในสัตว์ทดลอง และมนุษย์กลุ่มทดลอง และจะต้องผ่านขั้นตอนอีกมาก วัคซีนที่เรากำลังคิดค้นนั้น คือ ผลิตภัณฑ์ที่คล้ายกันกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (SARS-CoV-2) ที่สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยี "โปรตีนแคลมป์" ซึ่งหมายถึงการเชื่อมโยงโปรตีน เทคโนโลยีนี้ เกิดขึ้นได้จากกลุ่มวิจัยของ พอล ยัง (Paul Young) จากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ และได้รับการพัฒนาโดยองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ ซึ่งจะทำการทดลองขั้นสูงในสัตว์ภายในห้องทดลองที่มีการรักษาความปลอดภัยระดับสูงในเมืองจีลอง

ขณะนี้เราก็กำลังให้ความช่วยเหลือการทดสอบในห้องปฏิบัติการอยู่ ส่วนผลลัพธ์ที่ออกมาระยะแรกดูมีแนวโน้มดี
ระยะเวลาอันยาวนานสำหรับคิดค้นวัคชีนเหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของประสิทธิภาพที่แม่นยำรัดกุมและการทดสอบที่ปลอดภัย ถ้าทุกอย่างเป็นไปด้วยดี อย่างน้อยในกลุ่มทดลองสักราย บางทีเราอาจจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ที่พร้อมฉีดเข้าสู่ร่างกายของผู้คนในไม่ช้า

สำหรับประเด็นที่ว่า จะเสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้อย่างไรนั้น เขาชี้แจงว่าตามปกติ หากเราไม่มีระบบภูมิคุ้มกันที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ก็อาจเสียชีวิตจากโรคโควิด-19

อย่างไรก็ดี หากปราศจากวัคซีน เราก็ยังทำอะไรเพื่อเสริมสร้างภูมิต้านทานพื้นฐานไม่ได้มาก การบริโภคอาหารอย่างสมดุลก็อาจช่วยได้ ส่วนผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่อ้างว่าสามารถ "เสริมสร้างภูมิคุ้มกันได้" นั้นไม่ปรากฏข้อบ่งชี้ว่ามีคุณประโยชน์ใดๆ หลังผ่านการทดสอบ

ส่วนประเด็นที่ว่า เด็กมีโอกาสติดเชื้อน้อยกว่าผู้ใหญ่นั้น อาจเป็นเพราะเด็กมีตัวรับไวรัสในเซลล์น้อยกว่าผู้ใหญ่หรืออาจเป็นเพราะมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่ดี "ตอนนี้เราไม่รู้ว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น