
(1 เม.ย. 68) นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะฝ่ายเลขานุการกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) รายงานสรุปสถานการณ์ประจำวัน และความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ที่เกิดขึ้นในเมียนมา (28 มี.ค. 68) โดยแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย รวม 63 พื้นที่ โดยเฉพาะโศกนาฏกรรมตึกถล่มย่านจตุจักร กรุงเทพฯ

สถานการณ์โดยรวม ได้รับรายงานความเสียหาย 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ลําปาง ลําพูน น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กําแพงเพชร ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร รวม 114 อำเภอ 296 ตำบล 436 หมู่บ้าน โดยมีบ้านเรือนได้รับผลกระทบ 593 หลัง วัด 72 แห่ง โรงพยาบาล 108 แห่ง อาคาร 12 แห่ง โรงเรียน 58 แห่ง สถานที่ราชการ 33 แห่ง และกรุงเทพมหานคร มีผู้เสียชีวิต 20 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 35 ราย (กรุงเทพมหานคร 34 ราย จ.นนทบุรี 1 ราย) ดังนี้
1) จ.เชียงราย พื้นที่ได้รับความเสียหาย 15 อำเภอ 55 ตำบล 119 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เชียงของ อ.ป่าแดด อ.เมืองฯ อ.เวียงป่าเป้า อ.เทิง อ.แม่จัน อ.เชียงแสน อ. แม่สาย อ.ขุนตาล อ.แม่ลาว อ.ดอยหลวง อ.แม่สรวย อ.พาน อ.เวียงเชียงรุ้ง และ อ.แม่ฟ้าหลวง บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 197 หลัง วัด 8 แห่ง โรงพยาบาล 16 แห่ง โรงเรียน 29 แห่ง สถานที่ราชการ 6 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
2) จ.เชียงใหม่ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 22 อำเภอ 87 ตำบล 123 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ดอยเต่า อ.พร้าว อ.หางดง อ.แม่แจ่ม อ.สันกําแพง อ.สะเมิง อ.กัลยาณิวัฒนา อ.ฮอด อ.แม่อาย อ.เชียงดาว อ.สันป่าตอง อ.แม่ริม อ.จอมทอง อ.แม่วาง อ.สันทราย อ.แม่แตง อ.อมก๋อย อ.แม่ออน อ.ไชยปราการ อ.ดอยหล่อ และ อ.สารภี บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 225 หลัง อาคารสูง 6 แห่ง วัด เจดีย์ 31 แห่ง โรงเรียน 11 แห่ง โรงพยาบาล 16 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
3) จ.แม่ฮ่องสอน พื้นที่ได้รับความเสียหาย 7 อำเภอ 13 ตำบล 18 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สบเมย อ.ขุนยวม อ.ปางมะผ้า อ.ปาย อ.แม่ลาน้อย และ อ.แม่สะเรียง วัด 2 แห่ง สถานที่ราชการ 3 แห่ง โรงพยาบาล 8 แห่ง โรงเรียน 6 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
4) จ.พะเยา พื้นที่ได้รับความเสียหาย 7 อำเภอ 8 ตำบล 9 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ภูซาง อ.เชียงม่วน อ.ดอกคําใต้ อ.เชียงคํา อ.แม่ใจ และ อ.ปง บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 40 หลัง โรงเรียน 1 แห่ง โรงพยาบาล 6 แห่ง รพ.สต. 6 แห่ง สถานที่ราชการ 4 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
5) จ.ลําปาง พื้นที่ได้รับความเสียหาย 12 อำเภอ 33 ตำบล 41 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สบปราบ อ.เกาะคา อ.แม่ทะ อ.แม่พริก อ.งาว อ.ห้างฉัตร อ.วังเหนือ อ.เถิน อ.เมืองปาน อ.แม่เมาะ และ อ.เสริมงาม บ้านเรือน ประชาชนได้รับผลกระทบ 73 หลัง วัด 5 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง โรงพยาบาล 5 แห่ง สถานที่ราชการ 2 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
6) จ.ลําพูน พื้นที่ได้รับความเสียหาย 6 อำเภอ 13 ตำบล 25 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.ป่าซาง อ.ลี้ อ.เมืองฯ อ.บ้านโฮ่ง อ.เวียงหนองล่อง และ อ.แม่ทา บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 33 หลัง วัด 3 แห่ง โรงพยาบาล 4 แห่ง สถานที่ราชการ 2 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

7) จ.น่าน พื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 อำเภอ 2 ตำบล 3 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.ภูเพียง วัด 2 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
8) จ.แพร่ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 4 อำเภอ 13 ตำบล 24 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.สอง อ.หนองม่วงไข่ และ อ.สูงเม่น บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 20 หลัง โรงเรียน 2 แห่ง โรงพยาบาล 2 แห่ง สถานที่ราชการ 8 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
9) จ.สุโขทัย พื้นที่ได้รับความเสียหาย 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.ศรีสําโรง อาคารโรงยาสูบ เสียหาย 1 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
10) จ.พิษณุโลก พื้นที่ได้รับความเสียหาย 9 อำเภอ 14 ตำบล 15 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.นครไทย อ.บางกระทุ่ม อ.เมืองฯ อ.บางระกํา อ.พรหมพิราม อ.วัดโบสถ์ อ.วังทอง อ.เนินมะปราง และ อ.ชาติตระการ โรงพยาบาล 15 แห่ง สถานที่ ราชการ 1 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
11) จ.เพชรบูรณ์ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 7 อำเภอ 22 ตำบล 22 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.วิเชียรบุรี อ.หล่มสัก อ.น้ําหนาว อ.เขาค้อ อ.บึงสามพัน และ อ.ศรีเทพ บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 2 หลัง โรงพยาบาล 19 แห่ง โรงเรียน 1 แห่ง สถานที่ราชการ 1 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
12) จ.กําแพงเพชร พื้นที่ได้รับความเสียหาย 5 อำเภอ 7 ตำบล 7 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.คลองขลุง อ.ลานกระบือ อ.ทรายทองวัฒนา และ อ.ปางศิลาทอง บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 2 หลัง วัด 2 แห่ง โรงพยาบาล 1 แห่ง อาคาร 1 แห่ง และสถานที่ราชการ 2 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
13) จ.ชัยนาท พื้นที่ได้รับความเสียหาย 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ วัด 1 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ
14) จ.พระนครศรีอยุธยา พื้นที่ได้รับความเสียหาย 9 อำเภอ 18 ตำบล 19 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.ลาดบัวหลวง อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางบาล อ.เสนา อ.ภาชี อ.มหาราช อ.ผักไห่ อ.วังน้อย และ อ.บางปะอิน วัด 13 แห่ง โรงพยาบาล 5 แห่ง อาคาร 2 แห่ง โรงเรียน 3 แห่ง และสถานที่ราชการ 3 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
15) จ.ปทุมธานี พื้นที่ได้รับความเสียหาย 2 อำเภอ 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.คลองหลวง อ.เมืองฯ เบื้องต้นพบ รอยร้าวอาคาร 4 หลัง ได้แก่ อาคารโรงอาหารชั้นเดียว อาคารสํานักงาน 2 ชั้น อาคารเรียน 3 ชั้น และอาคารเรียน 2 ชั้น ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
16) จ.นนทบุรี พื้นที่ได้รับความเสียหาย 3 อำเภอ 5 ตำบล 5 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ อ.ปากเกร็ด และ อ.บางกรวย โรงพยาบาล 4 แห่ง ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์งามวงศ์วาน 1 แห่ง มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 ราย และไม่มีผู้เสียชีวิต
17) จ.สมุทรปราการ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.พระประแดง วัด 1 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
18) จ.สมุทรสาคร พื้นที่ได้รับความเสียหาย 1 อำเภอ 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ได้แก่ อ.เมืองฯ โรงพยาบาล 1 แห่ง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
19) กรุงเทพมหานคร เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 20 ราย (เขตจตุจักร 13 ราย บางซื่อ 1 ราย คันนายาว 1 ราย บางกะปิ 1 ราย วัฒนา 1 ราย ราชเทวี 1 ราย ปทุมวัน 1 ราย และเขตห้วยขวาง 1 ราย) ผู้ได้รับบาดเจ็บ 34 ราย (เขตจตุจักร 19 ราย บางซื่อ 4 ราย บางรัก 3 ราย พญาไท 2 ราย ดินแดง 4 ราย วัฒนา 1 ราย และเขตบางนา 1 ราย)

สำหรับการให้ความช่วยเหลือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สปภ.กทม. หน่วยทหาร จนท.ตร. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้การช่วยเหลือผู้ติดค้างภายใต้ซากอาคาร โดยนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้ กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติเฝ้าระวังอาฟเตย์ ช็อก (after shock) อย่างใกล้ชิด และให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1-18 จัดเตรียมเครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้การสนับสนุนจังหวัด และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน และอธิบดีกรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย สั่งการให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด ติดตามสถานการณ์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้แจงทําความเข้าใจให้กับประชาชน ทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อลดความ ตื่นตระหนก รวมถึงแนวทางการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย และการให้ความช่วยเหลือของหน่วยงานราชการ และสํารวจความเสียหาย และให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกําหนด
กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้ประเมินสถานการณ์แล้วเห็นว่าสถานการณ์ได้คลี่คลาย อีกทั้งผลกระทบต่อประชาชน ความเสียหายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้รับการแก้ไขระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และเส้นทางคมนาคม รวมถึงความเป็นอยู่ของประชาชนกลับสู่ภาวะปกติ และการให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ได้ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง

ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ยังคงมีการค้นหาผู้ที่ติดอยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานคร สามารถดําเนินการได้ในศักยภาพของพื้นที่ในการนี้ผู้บัญชาการป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติพิจารณาแล้ว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย พ.ศ. 2550 ประกอบแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 – 2570 จึงให้ลดระดับการจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) เป็นการจัดการสาธารณภัยขนาดกลาง (ระดับ 2) ตามแผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2554 – 2570 โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้อํานวยการจังหวัด และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะผู้อํานวยการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้สั่งการควบคุม และบัญชาการในพื้นที่จังหวัด และในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อประสานการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ระดมทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (USAR) รวม 77 นาย พร้อมด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลสาธารณภัย กว่า 14 รายการ จากศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 3 ปราจีนบุรี และเขต 16 ชัยนาท เข้าร่วมปฏิบัติการสนับสนุน การค้นหาผู้ประสบภัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พร้อมทั้งได้ร่วมกับ กสทช. ส่ง SMS แจ้งประชาชน จํานวน 4 ครั้ง เพื่อให้รับทราบสถานการณ์แผ่นดินไหว และแนวทางการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยก่อนที่จะกลับเข้าที่พักอาศัย ตลอดจนได้สั่งการให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัย กว่า 355 รายการ ให้พร้อมสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนของจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตลอด 24 ชั่วโมง