ดวงอาทิตย์ปล่อยพลังงานรุนแรง โลกเตรียมรับ พายุสุริยะ ใหญ่สุดรอบ 20 ปี 

ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยพลังงานครั้งใหญ่ ส่งผลให้เกิดพายุสุริยะระดับรุนแรง โลกเตรียมได้รับผลกระทบกระบบสื่อสาร อุปกรณ์ไฟฟ้าอาจทำงานขัดข้อง แต่ไม่กระทบต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิต

ถือเป็นเรื่องฮือฮาและน่าประหลาดใจอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ใกล้กับซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ที่มีโอกาสได้เห็นแสงเหนือ หรือแสงออโรร่า แต่ที่น่าตกใจหรือทำให้หลายคนวิตกกังวลว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกหรือไม่นั้น เพราะอย่างที่ทุกคนทราบว่าแสงเหนือจะเกิดที่บริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้เท่านั้น

This handout photo taken and released by Kris Cheng shows the northern lights or aurora borealis during a solar storm over London on May 10, 2024. – The most powerful solar storm in more than two decades struck Earth on May 10, triggering spectacular celestial light shows in skies from Tasmania to Britain — and threatening possible disruptions to satellites and power grids as it persists into the weekend. (Photo by Handout / Kris CHENG / AFP) / RESTRICTED TO EDITORIAL USE – MANDATORY CREDIT “AFP PHOTO / KRIS CHENG” – NO MARKETING NO ADVERTISING CAMPAIGNS – DISTRIBUTED AS A SERVICE TO CLIENTS

แต่ในครั้งนี้หลายประเทศที่อยู่ต่ำลงมาสามารถมองเห็นได้ ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะ พายุสุริยะ ที่ดวงอาทิตย์ได้ปลดปล่อยพลังงานอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดพายุแม่เหล็กโลกรุนแรงในระดับ G4 ซึ่งถือว่ามีความรุนแรงที่สุดในรอบ 20 ปี นับแต่ปี 2548 เลยทีเดียว โดยพายุดังกล่าวนี้จะทำให้ดาวเทียมและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ต่างๆเกิดการทำงานขัดข้อง รวมถึงระบบการสื่อสารที่ใช้การสะท้อนของสัญญาณกับบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ เพราะบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์นี้อาจเกิดการปั่นป่วนเมื่อถูกโจมตีจากการระเบิดบนดวงอาทิตย์ 

This image courtesy of Ryan Prewitt shows the Northern lights or aurora borealis over Ohio, during a geomagnetic storm on May 10, 2024. – The most powerful solar storm in more than two decades struck Earth on May10, 2024, triggering spectacular celestial light shows in skies from Tasmania to Britain — and threatening possible disruptions to satellites and power grids as it persists into the weekend. (Photo by Ryan PREWITT / AFP) / RESTRICTED TO EDITORIAL USE – MANDATORY CREDIT “AFP PHOTO / HANDOUT / RYAN PREWITT ” – NO MARKETING – NO ADVERTISING CAMPAIGNS – DISTRIBUTED AS A SERVICE TO CLIENTS

อย่างไรก็ตาม NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ติดตามเกี่ยวกับพายุสุริยะ ได้แจ้งเตือนถึงการตรวจพบพายุสุริยะที่มีความรุนแรงระดับ G4 ต่อมาได้ยกระดับพายุขึ้นเป็นระดับ G5 ซึ่งเป็นระดับความรุนแรงของพายุสุริยะที่สูงที่สุด  โดยทางเฟซบุ๊ก สมาคมดาราศาสตร์ไทย รายงานว่า ทาง NOAA ประกาศว่าเรากำลังเผชิญพายุแม่เหล็กโลกระดับร้ายแรงสูงสุด (G5) ผลกระทบใกล้เคียงครั้งที่โลกเผชิญการปะทุแฟลร์รุนแรงระดับ X20+ ในปี 2546 ซึ่งในครั้งนั้นพายุแม่เหล็กโลกส่งผลให้ไฟฟ้าดับในสวีเดน และสร้างความเสียหายหม้อแปลงไฟฟ้าใน แอฟริกาใต้  

Northern lights or aurora borealis are seen over Margate, Kent, South East Britain, during a geomagnetic storm on May 10, 2024. – The most powerful solar storm in more than two decades struck Earth on May10, 2024, triggering spectacular celestial light shows in skies from Tasmania to Britain — and threatening possible disruptions to satellites and power grids as it persists into the weekend. (Photo by Alice Dhuru / AFP)

สำหรับพายุสุริยะนั้นเกิดขึ้นจากการปลดปล่อยมวลของดวงอาทิตย์ (Coronal Mass Ejection: CME) ซึ่งเมื่ออนุภาคมีประจุเหล่านี้เกิดการเคลื่อนที่ จะส่งผลให้สนามแม่เหล็กโลกถูกรบกวนและเบี่ยงเบน ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมามีการปะทุ หรือปลดปล่อยพลังดังกล่าวนี้ราว 6-7 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดถือว่ามีความรุนแรงที่มากพอสมควรเลยทีเดียว ซึ่งเราสามารถมองเห็นกระบวนการดังกล่าวนี้จากการเกิดแสงออโรร่า ส่วนการที่ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยพลังงานพายุสุริยะที่รุนแรงขนาดนี้ เนื่องจากตรงกับช่วง solar maximum ในวัฏจักร 11 ปี ของดวงอาทิยต์ที่พบจุดดับบ่อยที่สุด ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมปกติของดวงอาทิตย์ 

(FILES) This picture shows northern lights (Aurora Borealis) over the mountain at Utakleiv on March 3, 2024 in Lofoten Islands. – A huge solar storm is heading for Earth, supercharging auroras and bringing possible disruptions to satellites and power grids as early as the evening of May 10, 2024, US officials say. (Photo by Olivier MORIN / AFP)

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : เฟซบุ๊ก สมาคมดาราศาสตร์ไทย, NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, uk.news.yahoo, AFP