พิษแผ่นดินไหว! กรมโยธาฯ สั่งระงับ 34 อาคาร ได้รับความเสียหายหนัก

กรมโยธาธิการและผังเมือง ออกแถลงการณ์ตรวจสอบอาคารทั่วทุกจังหวัด 3,375 อาคาร จากเหตุแผ่นดินไหว (28 มี.ค. 68) – สั่งระงับ 34 อาคาร ที่โครงสร้างเสียหายหนัก

วันนี้ (2 เม.ย. 68) ศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว (ศรต.ยผ.) กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ออกแถลงการณ์ขอรายงานผลการดําเนินการในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2568

ศูนย์รับแจ้งเพื่อตรวจสอบความเสียหายของอาคารที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว (ศรต.ยผ.) ณ กรมโยธาธิการและผังเมือง ถนนพระรามที่ 6 ได้ร่วมกับสภาวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และวิศวกรอาสาภาคเอกชน จํานวน 110 คน ดําเนินการตรวจสอบอาคารที่มี การแจ้งว่าได้รับความเสียหาย โดยมีการแบ่งอาคารในการตรวจสอบออกเป็น 3 กลุ่ม และขอรายงานผลการ ดําเนินงานตามการแบ่งกลุ่มอาคาร ดังนี้ 

อาคารกลุ่มที่ 1 ได้แก่ อาคารภาครัฐ เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน อาคารราชการในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดําเนินการตรวจสอบร่วมกับ สภาวิศวกร วิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย สมาคมผู้ตรวจสอบอาคาร และวิศวกรอาสาภาคเอกชน ดําเนินการตรวจสอบอาคารที่ได้รับการร้องขอ ในวันที่ 1 เมษายน 2568 จํานวน 25 หน่วยงาน จํานวน 81 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติ สีเขียว จํานวน 76 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ สีเหลือง จํานวน 5 อาคาร และไม่มีอาคารที่มีความเสียหายอย่างหนัก และระงับการใช้อาคารสีแดง 

สรุปดําเนินการตรวจสอบอาคารสะสมตั้งแต่ วันที่ 28 มีนาคม – 1 เมษายน 2568 จํานวน 125 หน่วยงาน จํานวน 367 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติ (สีเขียว) จํานวน 334 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ (สีเหลือง) จํานวน 30 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนัก โดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร สีแดง จํานวน 3 อาคาร และทางเชื่อมอาคาร จํานวน 1 แห่ง 

อาคารกลุ่มที่ 2 ได้แก่ อาคารสูง โรงแรม คอนโดมิเนียม หอพัก ห้างสรรพสินค้าที่เป็นของภาคเอกชน อาคารเหล่านี้ เป็นอาคารที่ต้องมีการตรวจสอบอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคารทุกปีอยู่แล้ว กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้แนะนําให้เจ้าของอาคารให้ผู้ตรวจสอบอาคารที่เคยตรวจสอบเข้าดําเนินการ ตามคู่มือสํารวจความเสียหายขั้นต้น ของโครงสร้างอาคารหลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวของกรมโยธาธิการและผังเมือง

อาคารกลุ่มที่ 3 ได้แก่ อาคารบ้านพักอาศัย ตึกแถว ห้องแถว และอาคารทั่วไปในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครจะเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจสอบให้คําแนะนําและให้คําปรึกษาแก่พี่น้องประชาชน ผ่าน Traffyfondue ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2568 ได้รับแจ้งทั้งหมด 15,514 เรื่อง และดําเนินการแล้วเสร็จ 13,612 เรื่อง 

สําหรับอาคารในต่างจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ทางกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้สั่งการให้โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด ดําเนินการตรวจสอบอาคาร ร่วมกับวิศวกรขององค์ปกครองส่วนท้องถิ่น และวิศวกรอาสาของเอกชนในพื้นที่ ร่วมกันดําเนินการ โดยสั่งการให้มีการตรวจสอบอาคารสาธารณะ

ปัจจุบันได้มีผลการตรวจสอบอาคารในส่วนจังหวัด 76 จังหวัด จํานวน 3,008 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติ (สีเขียว) จํานวน 2,796 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ (สีเหลือง) จํานวน 181 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร (สีแดง) จํานวน 31 อาคาร

สรุปผลการตรวจสอบอาคารที่มีการแจ้งว่าได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหว ตั้งแต่ วันที่ 28 มีนาคม – 1 เมษายน 2568 ทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด รวมทั้งสิ้น จํานวน 3,375 อาคาร สามารถใช้งานได้ปกติ (สีเขียว) จํานวน 3,130 อาคาร / มีความเสียหายปานกลาง สามารถใช้งานได้ (สีเหลือง) จํานวน 211 อาคาร / โครงสร้างมีความเสียหายอย่างหนักโดยได้สั่งให้ระงับการใช้งานอาคาร (สีแดง) จํานวน 34 อาคาร