หมอหมู ชี้! “โทรศัพท์มือถือ” ที่ใช้แนบหู สกปรกกว่า “ที่นั่งชักโครก” 10 เท่า 

ทำความสะอาด #มือถือ ครั้งล่าสุดเมื่อไหร่? หมอหมู ชี้! “โทรศัพท์มือถือ” ที่ใช้แนบหู สกปรกกว่า “ที่นั่งชักโครก” 10 เท่า แนะ! ไม่ควรนำเข้าห้องน้ำ

รู้มั้ย? “โทรศัพท์มือถือ” ที่เราพกติดตัว ยกโทรแนบหูอยู่ทุกวัน สกปรกมากกว่าที่นั่งชักโครกถึง 10 เท่า 

วันนี้ (11 ธ.ค.67) หมอหมู รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวช มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีดังกล่าว ระบุว่า… 

“โทรศัพท์มือถือสกปรก มากกว่าที่นั่งชักโครกถึง 10 เท่า 

คนส่วนใหญ่ไม่คิดอะไรมากกับการใช้โทรศัพท์มือถือในทุกที่ไม่ว่าจะเป็นตอนไปทำงานตอนเช้า ขณะไปทานอาหารเย็น หรือไปพบแพทย์ แต่การวิจัยแสดงให้เห็นว่าโทรศัพท์มือถือสกปรกกว่าที่คนส่วนใหญ่คิดมาก และยิ่งโทรศัพท์มือถือสะสมเชื้อโรคมากเท่าไร คุณก็ยิ่งสัมผัสเชื้อโรคมากขึ้นเท่านั้น 

อันที่จริงแล้ว มือของคุณเอง คือผู้ร้ายตัวฉกาจที่สุด เมื่อต้องหยิบจับสิ่งสกปรกบนโทรศัพท์ของคุณ จากผลสำรวจของ Deloitte พบว่าคนอเมริกันตรวจสอบโทรศัพท์ประมาณ 47 ครั้งต่อวัน ซึ่งเปิดโอกาสให้จุลินทรีย์แพร่กระจายจากนิ้วมือไปยังโทรศัพท์ของคุณได้ 

จากการศึกษาล่าสุดพบว่าโทรศัพท์มือถือของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายมีสำเนาของยีนแบคทีเรียมากกว่า 17,000 ชุด ซึ่งนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแอริโซนา ระบุว่า “โทรศัพท์มือถือมีแบคทีเรียมากกว่าที่นั่งชักโครกทั่วไปถึง 10 เท่า” 

แน่นอนผิวหนังของมนุษย์นั้นปกคลุมไปด้วยจุลินทรีย์โดยธรรมชาติ ซึ่งโดยปกติแล้วจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพใดๆ และแบคทีเรียตามธรรมชาติ รวมถึงน้ำมันบนมือของคุณ จะถูกส่งต่อไปยังโทรศัพท์ของคุณทุกครั้งที่คุณตรวจสอบข้อความหรือส่งอีเมล ดังนั้น จุลินทรีย์ส่วนใหญ่ที่พบในโทรศัพท์ไม่ใช่เชื้อโรคที่ทำให้ป่วย ตัวอย่างเช่น อาจมีเชื้อสแตฟิโลค็อกคัสอยู่ แต่โดยทั่วไปแล้ว เชื้อสแตฟิโลค็อกคัสไม่ใช่ชนิดที่ทำให้ติดเชื้อ 

แต่จากการศึกษาพบว่า โทรศัพท์มือถือก็อาจมีเชื้อแบคทีเรียร้ายแรงปนเปื้อนได้ เช่น สเตรปโตค็อกคัส (Streptococcus), สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส สายพันธุ์ที่ ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ (MRSA) และแม้แต่อีโคไล (E.coli) ขณะที่ไวรัสก็สามารถแพร่กระจายบนโทรศัพท์ได้เช่นกัน ซึ่งหากบุคคลหนึ่งป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่และไอลงในโทรศัพท์มือถือก่อนจะส่งให้เพื่อน ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้เช่นกัน 

วิธีง่ายๆ ในการหลีกเลี่ยงเชื้อโรคจากโทรศัพท์มือถือ 

1. หลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์คือในห้องน้ำ เนื่องจากอาจปนเปื้อนแบคทีเรียในอุจจาระ เช่น อีโคไล ได้ 

2. ทำความสะอาดโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์เนื้อนุ่มเช็ดโทรศัพท์ ซึ่งจะช่วยขจัดเชื้อโรคได้มาก 

3. สำหรับการทำความสะอาดอย่างล้ำลึก แนะนำให้ใช้น้ำ 60% และแอลกอฮอล์ถู 40% ผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน จากนั้นจุ่มผ้าลงในสารละลายก่อนจะเช็ดเบา ๆ บนโทรศัพท์มือถือ ทำเช่นนี้ 2-3 ครั้งต่อเดือนก็เพียงพอแล้ว (อย่าใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบน้ำหรือแบบสเปรย์ เพราะอาจทำให้โทรศัพท์ของคุณเสียหายได้) 

ทั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่ผมนำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาชัดเจน และผมได้พยายามอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่บางครั้งอาจมีการโต้แย้งในข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องปกติในแวดวงวิชาการ ดังนั้นจึงขอเรียนทุกท่านว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านบทความของผม และควรหาข้อมูลเพื่มเติมเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง ด้วยนะครับ” 

อ่านแล้วขนลุก! ลูกเพจมีความคิดเห็นยังไงเกี่ยวกัยบเรื่องนี้คะ ย้อนดูตัวเองซิ มือถือที่ใช้ไม่ได้ทำความสะอาดนานเท่าไหร่แล้ว?