
(3 เม.ย. 68) นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะฝ่ายเลขานุการกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) รายงานสรุปสถานการณ์ประจำวัน และความคืบหน้าการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 8.2 ที่เกิดขึ้นในเมียนมา (28 มี.ค. 68) โดยแรงสั่นสะเทือนมายังประเทศไทย พร้อมเกิดโศกนาฏกรรมตึกถล่มย่านจตุจักร กรุงเทพฯ นับเป็นการเข้าสู่วันที่ 7 แล้ว

จากสถานการณ์โดยรวม เบื้องต้นได้รับรายงานความเสียหาย 18 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา ลําปาง ลําพูน น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ กําแพงเพชร ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร) 136 อำเภอ 430 ตำบล 823 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 1,352 หลัง วัด 89 แห่ง โรงพยาบาล 166 แห่ง อาคาร 24 แห่ง โรงเรียน 112 แห่ง สถานที่ราชการ 61 แห่ง และกรุงเทพมหานคร มีผู้เสียชีวิต 22 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 36 ราย (กรุงเทพมหานคร 35 ราย จ.นนทบุรี 1 ราย)
การให้ความช่วยเหลือ ปภ. สปภ.กทม. หน่วยทหาร จนท.ตร. จิตอาสา อปพร. อาสาสมัครมูลนิธิ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าให้ การช่วยเหลือผู้ติดค้างภายใต้ซากอาคาร โดยนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการให้ บกปภ.ช. เฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อก (after shock) อย่างใกล้ชิด และให้ศูนย์ ปภ.เขต 1-18 จัดเตรียมเครื่องจักรกลสาธารณภัย ให้การสนับสนุนจังหวัด และช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน และ อธิบดี ปภ. สั่งการให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด ติดตามสถานการณ์และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้แจงทําความเข้าใจให้กับประชาชน ทราบสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อลดความตื่นตระหนก รวมถึงแนวทางการปฏิบัติตนให้ปลอดภัย และการให้ความช่วยเหลือ ของหน่วยงานราชการ สํารวจความเสียหาย และให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยตามระเบียบหลักเกณฑ์ที่ทางราชการกําหนด บกปภ.ช. ประเมินสถานการณ์เห็นว่าสถานการณ์ได้คลี่คลาย อีกทั้งผลกระทบต่อประชาชน ความเสียหายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ได้รับการแก้ไข ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน และเส้นทางคมนาคม รวมถึงความเป็นอยู่ของประชาชนกลับสู่ภาวะปกติและการให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆ ดําเนินการอย่างต่อเนื่อง ในการนี้ ผบ.บกปภ.ช. พิจารณาให้ลดระดับการจัดการสาธารณภัยขนาดใหญ่ (ระดับ 3) เป็นการจัดการสาธารณภัย ขนาดกลาง (ระดับ 2) ตามแผน ปภ.ชาติ พ.ศ. 2564 – 2570 โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะผู้อํานวยการจังหวัด และ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะ ผอ. กทม. เป็นผู้สั่งการควบคุม และบัญชาการในพื้นที่
ปภ. ได้ระดมทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (USAR) รวม 77 นาย พร้อมด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลสาธารณภัยกว่า 14 รายการ จากศูนย์ ปภ.เขต 1 ปทุมธานี เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 3 ปราจีนบุรี และศูนย์ ปภ. เขต 16 ชัยนาท ร่วมปฏิบัติการสนับสนุนการค้นหาผู้ประสบภัย ในพื้นที่ กทม. พร้อมทั้งได้ร่วมกับ กสทช. ส่ง SMS แจ้งประชาชน จํานวน 4 ครั้ง เพื่อให้รับทราบสถานการณ์แผ่นดินไหว และแนวทางการปฏิบัติตน ให้ปลอดภัยก่อนที่จะกลับเข้าที่พักอาศัย ตลอดจนสั่งการให้ศูนย์ ปภ. เขต ทั่วประเทศ เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกลสาธารณภัยกว่า 355 รายการ ให้พร้อมสนับสนุนการช่วยเหลือประชาชนของจังหวัดในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ตลอด 24 ชม.

ทั้งนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในที่ประชุมกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เพื่อติดตามสภานการณ์ ผลกระทบ และการแก้ปัญหาจากแผ่นดินไหว
1) การบริหารสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ให้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางในการอ่าน การ ประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงาน รอดสรรพ และทยากร ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในภาพรวมโดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทา ณ แห่งชาติ เป็นผู้บัญชาก เหตุการณ์ให้ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรุงเทพมหานพร เป็นศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ส่วนหน้า กรุงเทพมหานครดําเนินการให้ความช่วยเหลือและค้นหาผู้ที่ยังติดค้างอยู่ในอาคารที่ถล่ม โดยมีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ ณ จุดเกิดเหตุ
2) การแจ้งเตือนประชาชน
ขอให้เร่งพัฒนาระบบ CELL BROADCAST ที่จะสามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังโทรศัพท์มือถือ ของประชาชนโดยตรง เพื่อให้ประชาชนได้รับการแจ้งเตือน อย่างรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์
3) การคมนาคมและการจราจร
ให้มีการเตรียมความพร้อมรองรับ หากเกิดกรณีจําเป็นต้องทําการปิดเส้นทางคมนาคมและการจราจร โดยมีระบบการแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบสถานการณ์ ว่ามีการปิดเส้นทางคมนาคมเส้นทางใดบ้าง มีทางเลี่ยง หรือทางเลือกที่สามารถเดินทางได้ในเส้นทางใดให้ ปภ. ร่วมกับกระทรวงคมนาคมและการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ในการแก้ไขปัญหา กรณีมีเศษวัสดุจากอาคารสูงด้านข้างจะร่วงหล่น มาในบริเวณด่านดินแดงทางพิเศษเฉลิมมหานคร
4) การตรวจสอบอาคาร
ให้จัดตั้งคณะกรรมการ/คณะทํางานเพื่อทําการตรวจสอบอาคารที่ได้รับผลกระทบและยืนยัน ความปลอดภัยของอาคาร เพื่อให้ผู้ใช้อาคารมีความเชื่อมั่นในเรื่องความปลอดภัยของโครงสร้างอาคาร
5) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
ให้กระทรวงการต่างประเทศ ทําการสื่อสารภาคภาษาอังกฤษ เพื่อสร้างความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยวและสื่อมวลชนจากต่างประเทศที่ยังคงให้ความสนใจ และได้ติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องมอบหมายให้รัฐมนตรีประจําสํานักนายกรัฐมนตรี ประสานรวบรวมข้อมูลเบอร์โทรศัพท์สายด่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบ สถานการณ์และการปฏิบัติตนอย่างปลอดภัย รวมถึงช่องทางแจ้งเหตุ หรือขอรับความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6) การเยียวยาผู้ประสบภัย เร่งกำหนดมาตรการช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบโดยเร็ว
