
สาวๆระวัง พวกเธอมีโอกาสเป็น “โรคซึมเศร้า” มากกว่าผู้ชาย!
วานนี้ (2 เม.ย.68) รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หมอหมู วีระศักดิ์ ถึงเผยผลวิจัยจากต่างประเทศ ระบุว่า เพราะอะไรวัยรุ่นหญิงถึงมีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” มากกว่าวัยรุ่นชาย วันนี้มีคำตอบ…

“ทำไมวัยรุ่นหญิงถึงมีแนวโน้มเป็น “โรคซึมเศร้า” มากกว่าวัยรุ่นชาย? เพราะภาวะซึมเศร้าเป็นภาวะทางจิตใจที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนทั่วโลกประมาณ 280 ล้านคน โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า ซึ่งจะเห็นความแตกต่างนี้ในช่วงวัยรุ่น
โดยการศึกษานี้ตีพิมพ์ใน Biological Psychiatry ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยทางชีวภาพที่อาจอธิบายได้ว่าทำไมวัยรุ่นหญิงถึงมีแนวโน้มเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าวัยรุ่นชาย โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้
1. The kynurenine pathway ในสมอง
– เส้นทางนี้เกี่ยวข้องกับการสลาย Tryptophan ซึ่งเป็นกรดอะมิโนในอาหาร
– การสลายตัวนี้สร้างสารเคมี 2 ชนิด
– Kynurenic Acid: ช่วยปกป้องเซลล์สมอง
– Quinolinic Acid: มีผลเสียต่อเซลล์สมอง
– ในวัยรุ่นหญิงพบความไม่สมดุลในเส้นทางนี้มากกว่าวัยรุ่นชายซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า
2. ผลกระทบจากการอักเสบ
การอักเสบในร่างกายอาจกระตุ้นให้เกิดสารเคมีที่เป็นอันตรายในสมองมากขึ้นในวัยรุ่นหญิง
3. ปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยา
วัยรุ่นหญิงมักเผชิญกับแรงกดดันทางสังคมและอารมณ์ที่ซับซ้อนมากกว่า เช่น การเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่นในโซเชียลมีเดีย แม้ว่าทั้งชายและหญิงสามารถเป็นโรคซึมเศร้าได้ แต่ปัจจัยทางชีววิทยา จิตวิทยา และสังคม ทำให้วัยรุ่นหญิงมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับภาวะซึมเศร้ามากกว่า งานวิจัยสนับสนุนว่าการให้การสนับสนุนทางอารมณ์ การลดความกดดันจากโซเชียลมีเดียและการสร้างความมั่นใจในตัวเองสามารถช่วยลดความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นหญิงได้
อ้างอิงข้อมูลจาก: “Sex-Specific Alterations of the Kynurenine Pathway in Association With Risk for and Remission of Depression in Adolescence” by Naghmeh Nikkheslat, Zuzanna Zajkowska, Cristina Legido-Quigley, Jin Xu, Pedro H. Manfro, Laila Souza, Rivka Pereira, Fernanda Rohrsetzer, Jader Piccin, Anna Viduani, Brandon A. Kohrt, Helen L. Fisher, Christian Kieling and Valeria Mondelli, 25 March 2025, Biological Psychiatry. DOI: 10.1016/j.biopsych.2024.11.020
เรียบเรียงโดย: รศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี ปล. ข้อมูลทั้งหมดที่ผมนำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาชัดเจน และผมได้พยายามอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่บางครั้งอาจมีการโต้แย้งในข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องปกติในแวดวงวิชาการ ดังนั้นจึงขอเรียนทุกท่านว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านบทความของผม และควรหาข้อมูลเพื่มเติมเพื่อความถูกต้องอีกครั้งด้วยนะครับ”
ทั้งนี้การป่วย “โรคซึมเศร้า” ในปัจจุบันก็มีให้เห็นยอะมากๆในสังคม และมีอัตราที่คนจะเป็นเพิ่มมากขึ้นด้วยหลายๆปัจจัย อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้ทุกคนเครียดจนเกินไปนะคะ ผ่อนคลายแล้วจะทำให้เราไม่ป่วยเป็นโรคนี้ได้ค่ะ ให้กำลังใจนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก เพจเฟซบุ๊ก หมอหมู วีระศักดิ์
https://www.facebook.com/share/p/194uUr5s9g