ครบรอบ 40 ปี หอภาพยนตร์ ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์

ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์ ครบรอบ 40 ปี หอภาพยนตร์ เผยประสบการงานอนุรักษณ์ฟิล์ม

ฉลอง 40 ปี “หอภาพยนตร์”ต้นธารซอฟต์พาวเวอร์วัฒนธรรมภาพยนตร์ของไทย หอภาพยนตร์ ร่วมเที่ยวย้อนรอยประวัติศาตร์หอภาพยนตร์ จากอดีต ถึง ปัจจุบัน พร้อมพาชมเบื้องหลังการทำงาน ทั้งเก็บรักษาฟิล์มภาพยนตร์ การตรวจเช็ค รวมถึงขั้นตอนอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่ใช่ใครที่จะสามารถทำได้ และร่วมชมภาพยนตย์เงียบ ในเทศกาลภาพยนตร์เงียบประเทศไทย ครั้งที่ 8 ใครที่หลงรักในภาพยนตร์ และสนใจในศิลปะแขนงนี้ สามารถมาเที่ยวและร่วมอนุรักษ์ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไทย

“ครบรอบ 40 ปี เปิดหอภาพยนตร์” เผยประสบการณ์งานอนุรักษ์ฟิล์มและสื่อภาพเคลื่อนไหว ที่ทันสมัยในงานเก็บและเผยแพร่สื่อใหม่ยุคดิจิตอล เป็นรากฐานของซอฟต์พาวเวอร์และการสร้างวัฒนธรรมภาพยนตร์ ด้วยการส่งเสริมผู้ชมทุกวัย

โดยนางสาวชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เปิดเผยว่า หอภาพยนตร์(องค์กรมหาชน) เกิดจากการร่วมมือของกลุ่มคนเล็ก ๆ ที่เห็นความสำคัญของการอนุรักษ์สื่อโสตทัศน์ไว้เป็นมรดกและบันทึกความทรงจำของประวัติศาสตร์ ได้ร่วมมือกันและผ่านกระบวนการต่อสู้มากมายกว่าจะมาถึงวันนี้ จนได้รับการยอมรับจากนานาประเทศด้านประสบการณ์ มาตรฐาน และความสามารถ หอภาพยนตร์ของไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมใหญ่สมาพันธ์หอภาพยนตร์นานาชาติ FIAF Congress 2024 เมื่อเดือนเมษายน 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทย นับเป็นความภาคภูมิใจขององค์กรฯ เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมกว่า 2,000 คน จาก 80 ประเทศทั่วโลก ต่างให้การยอมรับหอภาพยนตร์

“คงไม่มีอะไรน่ายินดีไปกว่า การได้รับการยอมรับของคนในวงการเดียวกัน จากการทำงานที่เราให้ความสำคัญกับมาตรฐานด้านการอนุรักษ์มาตั้งแต่ต้น ส่งผลให้เกิดผลงานที่ดี สามารถอนุรักษ์สิ่งต่าง ๆ ได้จำนวนมาก เมื่อเพื่อนในวงการที่มาจากยุโรป อเมริกา ละตินอเมริกา แอฟริกา ฯลฯ มาเห็นด้วยตาตัวเอง เมื่อทุกคนกลับไปแล้วเกิดการพูดถึง บอกต่อ นี่คือซอฟต์พาวเวอร์อย่างหนึ่งที่ไม่ต้องโปรโมท”

นางสาวชลิดา ยังพูดต่ออีกว่า เมื่อพูดถึงซอฟต์พาวเวอร์หลายคนมองที่ปลายทาง แต่งานของหอภาพยนตร์เป็นต้นธารของซอฟต์พาวเวอร์ เพราะงานหอภาพยนตร์คือการอนุรักษ์ภาพยนตร์ และการนำภาพยนตร์ทั้งเก่าและใหม่มาเผยแพร่เพื่อสร้างความรู้ เสริมสร้างความหลากหลายของจินตนาการ โดยการทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ โดยเฉพาะกับเด็กและเยาวชน และเป็นกลไกลสำคัญซอฟต์พาวเวอร์ที่สามารถต่อยอดในเรื่องเศรษฐกิจและความคิดสร้างสรรค์ ทั้งในมุมผู้สร้างและผู้ชมภาพยนตร์


 
นอกจากนี้ บทบาทและหน้าที่หลักของหอภาพยนตร์ฯ ตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา คือการทำหน้าที่อนุรักษ์สื่อภาพเคลื่อนไหว โดยให้ความสำคัญกับผลงานที่สร้างโดยคนไทยหรือเกี่ยวข้องกับประเทศไทย ไม่เฉพาะภาพยนตร์ที่ฉายในโรงเท่านั้น แต่รวมไปถึงภาพยนตร์สารคดี หนังข่าวต่าง ๆ หนังที่สร้างจากหน่วยงาน หรือหนังบ้าน (หนังที่ถ่ายกันเองในครอบครัว เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ภาคประชาชน) ในช่วงแรกหอภาพยนตร์เน้นการเก็รักษาวุตถุดังเดิมไว้ หรือเก็งานต้นฉบับเอาไว้ แต่มีโอกาสเสื่อมสภาพได้ง่าย แต่เมื่อยุคสทัยเปลี่ยนไปก็เก็บเป็นเทป และไฟล์ดิจิทัลแทน และยังคงเดินหน้าเก็บภาพยนตร์อยู่เรื่อยๆ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ประชาชน

“เราค่อนข้างปรับตัวเข้ากับยุคดิจิตอลได้เร็ว แม้ด้านหนึ่งจะเป็นนักอนุรักษ์ ดูโบราณ แต่ขณะเดียวกันเทคโนโลยีการอนุรักษ์ด้านดิจิตอลมีกระแสมาสักระยะหนึ่งแล้วและเราก็ปรับตัวเข้ากับองค์ความรู้ในเชิงสากลมาก่อนแล้ว ประกอบกับเรามีเครื่องมือที่ทันสมัย ทำให้ทำงานด้านบูรณะและทำอะไรหลาย ๆ อย่างได้ด้วยตัวเอง เมื่อมาผนวกกับประสบการณ์และความสามารถที่มี จึงไม่มีปัญหาเรื่องการอนุรักษ์สื่อในยุคดิจิตอล หอภาพยนตร์ไม่ได้เพียงแค่เก็บหนังเก่าในประวัติศาสตร์เท่านั้น แต่เก็บรักษาสื่อภาพเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้นในปัจจุบัน เพราะประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ยังคงเดินต่อไปตลอดเวลา” นางสาวชลิดากล่าวทิ้งท้าย

ทางด้านนายโดม สุขวงศ์ ผู้ก่อตั้งหอภาพยนตร์ กล่าวเสริมในวาระครบรอบ 40 ปีว่า หอภาพยนตร์ในเวลานี้ เติบโตจากจุดเริ่มต้นไปไกลมาก และไม่รู้สึกเป็นห่วงและกังวลกับหอภาพยนตร์อีก มีคนรุ่นใหม่ๆที่มาสานต่อ และทำหน้าที่ได้ดี จากงานอนุรักษ์ก็ขยายบทบาทเป็นแหล่งความรู้ ซึ่ฃก็ทำจนสำเร็จ เห็ยได้จากกิจกรรมโรงหนังโรงเรียน ที่เด็กและเยาวชนได้เข้ามาดูหนังและซึบซับงานศิลปะ ผ่านภาพยนตร์อย่างแท้จริง

“หนังเป็นสื่อครองโลก ทุกวินาทีจะมีภาพยนตร์ฉายอยู่ที่หนึ่งที่ใดของโลกใบนี้ เวลาคนดูหนังหรือภาพเคลื่อนไหวจึงเต็มไปด้วยความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร ผมอยากให้เรารู้จักดู เพราะสื่อภาพยนตร์เป็นได้ทั้ง 2 ทาง คือ ทำลายและสร้างสรรค์ อยากให้ใช้ประโยชน์จากภาพยนตร์ให้เกิดปัญญามากที่สุด” คุณโดม กล่าวในตอนท้าย


 
ต้องบอกเลยว่าหอภาพยนตร์มีการทำงาน และอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย มาอย่างต่อเนื่อง ด้วยศักยภาพและความสามารถ เพื่อให้เป็นมรดกที่สืบทอด เพื่อเรียนรู้ ให้กับเด็กและเยาวชนรุ่นต่อๆไป