
จากสถานการณ์การระบาดของ โรคใบด่าง ในปัจจุบัน จนตอนนี้มีพื้นที่ระบาดทั้งหมด 33 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัยอุทัยธานี อุตรดิตถ์กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สุรินทร์หนองคาย อุบลราชธานี ชัยนาท สระบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว กาญจนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี รวมความเสียหายทั้งหมด จำนวน 205,039 ไร่ การระบาดลดลง 1,699 ไร่
โดยเป็นข้อมูลจากศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ วันที่ 3 ม.ค. 2567

ทั้งนี้ สำหรับ โรคใบด่าง มันสำปะหลัง ที่ระบาดคือ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) เป็นโรคที่มีความสำคัญ ทำให้ผลผลิตเสียหาย 80-100% เกษตรกร ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้ และสามารถเข้าทำลาย มันสำปะหลัง ได้ ในทุกระยะการเจริญเติบโต โดยเชื้อไวรัสสาเหตุโรคใบด่างสามารถติดมากับท่อนพันธุ์ และมีแมลงหวี่ขาวยาสูบ เป็นแมลงพาหะ จึงทำให้มีความเสี่ยงที่เชื้อไวรัสนี้ จะแพร่ระบาดทำความเสียหายให้กับผลผลิตของเกษตรกรได้ และอาจส่งผลถึงเศรษฐกิจของประเทศ


โดยลักษณะอาการของโรคนี้คือ มันสำปะหลัง จะมีลักษณะอาการ เป็นใบด่างเหลือง ต้นแคระแกร็น ใบเสียรูปทรง ลดรูป ยอดที่แตกใหม่แสดงอาการด่างเหลือง หากใช้ท่อนพันธุ์ที่ติดเชื้อไวรัสมาปลูก จะทำให้เกิดอาการใบด่างเหลืองทั้งต้น ความรุนแรงของโรคขึ้น อยู่กับสายพันธุ์ของไวรัส และพันธุ์พืชนั่นเอง

ซึ่งแนวทางในการป้องกัน และกำจัด โรคใบด่าง นี้ คือเราต้องเลือกท่อนพันธุ์ที่สะอาด และทนทาน โรคใบด่างมันสำปะหลัง ได้แก่ พันธุ์ระยอง 72 เกษตรศาสตร์ 50 ห้วยบง 60 และไม่ควรปลูกพันธุ์อ่อนแอต่อ โรคใบด่างมันสำปะหลัง ได้แก่ ระยอง 11 และ CMR 43-08-89 เกษตรกร ควรหมั่นสำรวจแปลงปลูก มันสำปะหลัง ทุก 2 สัปดาห์ หากพบต้นที่แสดงอาการต้องสงสัย ให้ดำเนินการถอนทำลายต้นที่ต้องสงสัยทิ้งทันที

สุดท้ายนี้ หากเจอโรคใบด่างในต้นที่กำลังเล็กอยู่ อย่าเสียดายที่จะถอนมันทิ้ง เพราะอาจจะเป็นพาหะในการนำโรคมาติดกับต้นอื่นๆได้