![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1739429237_923046-ejan-768x402.jpg)
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) รายงาน “ดัชนีราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนา ในกรุงเทพฯ – ปริมณฑล ไตรมาสที่ 4 ปี 2567” พบว่าค่าดัชนีเท่ากับ 401.4 จุด เพิ่มขึ้น 1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยไตรมาส 4 ปี 2566 เพิ่มขึ้น 3.4%
โดยอัตราการขยายตัวของราคาที่ดินเพิ่มขึ้นสูง ยังอยู่ในพื้นที่ชานเมืองของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ปัจจัยสำคัญมาจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ อาทิ โครงการก่อสร้างถนนทางหลวงและทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง ทำให้การเดินทางเข้า-ออกเมืองได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ประกอบกับราคาที่ดินบริเวณชานเมืองยังคงมีราคาไม่สูงมากนัก ซึ่งผู้ประกอบการสามารถพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยแนวราบได้ในราคาที่สอดคล้องกับกำลังซื้อของกลุ่มผู้ที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน
![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1739428890_338576-ejan.jpg)
ซึ่งทำเลที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาที่ดินสูงสุด 5 อันดับแรก
- ที่ดินย่านนครปฐม มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 59.6%
- ที่ดินย่านสมุทรสาคร มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 44.2%
- ที่ดินในย่านเมืองปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว-สามโคก มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 27.3%
- ที่ดินย่านกรุงเทพชั้นใน (ประกอบด้วย เขตจตุจักร ห้วยขวาง ยานนาวา วัฒนา คลองเตย พญาไท บางคอแหลม ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางซื่อ ดินแดง ราชเทวี และบางรัก) ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 16.4%
- ที่ดินย่านบางเขน-สายไหม-ดอนเมือง-หลักสี่-มีนบุรี-หนองจอก-คลองสามวา-ลาดกระบัง ที่มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคาที่ดินสูงขึ้น 1.2%