![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1738816956_265276-ejan-768x402.jpg)
“พาณิชย์” ขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ฝรั่งสามพราน” ของดีของเด่นจังหวัดนครปฐม รสชาติหวาน ไม่ฝาด เป็นที่นิยมของผู้บริโภค สร้างรายได้ให้แก่เกษตกรกว่า 340 ล้านบาท”
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า สินค้า GI คือ สินค้าที่มาจากแหล่งผลิตที่เฉพาะเจาะจง มีความเชื่อมโยงกับ แหล่งภูมิศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งผลให้สินค้า มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว จนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ตระหนักและให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เพราะถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรที่มีอัตลักษณ์ และสร้างรายได้ให้ชุมชน ล่าสุดกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียน
![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1738816917_733900-ejan-1024x683.jpg)
ฝรั่งสามพราน สินค้า GI อันดับ 3 ของนครปฐม
ซึ่ง ฝรั่งสามพราน เป็นสินค้า GI ลำดับ 3 ของจังหวัดนครปฐม ต่อจากส้มโอนครชัยศรี และมะพร้าวน้ำหอมสามพราน ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้
![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1738816929_134954-ejan.jpg)
“ฝรั่งสามพราน” ปลูกเฉพาะในพื้นที่อำเภอสามพราน และอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ด้วยพื้นที่ลุ่มแม่น้ำนครชัยศรีที่ไหลพัดพาตะกอนดินและธาตุอาหารต่างๆ มาทับถมกัน จึงทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบบริเวณนั้นเป็นน้ำกร่อย และน้ำเค็ม จึงทำให้ฝรั่งสามพราน มีลักษณะเนื้อกรอบล่อน ไม่ติดเมล็ด รสชาติหวานหรือหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ไม่ฝาด และโดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวผลผลิตจะมีคุณภาพดี
ความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์นี้ จึงเป็นที่นิยมของผู้บริโภค และเป็นที่รู้จักในชื่อ “ฝรั่งสามพราน” นอกจากนี้เกษตรกรในพื้นที่ได้มีการพัฒนาต่อยอดให้สวนฝรั่งสามพรานเป็นสถานที่ท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมสวนและรู้จักฝรั่งสามพรานเพิ่มมากขึ้น โดยฝรั่งสามพรานสามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนกว่า 340 ล้านบาทต่อปี
![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1738816947_823024-ejan.jpg)
![](https://files.ejan.co/wp-content/uploads/2025/02/1738816947_900405-ejan-1024x768.jpg)
จากการขึ้นทะเบียน “ฝรั่งสามพราน” จึงทำให้ปัจจุบันมีสินค้าที่ขึ้นทะเบียน GI ทั่วประเทศแล้ว 224 สินค้า สร้างมูลค่ากว่า 77,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเดินหน้าผลักดันการควบคุมคุณภาพสินค้า GI เพื่อรักษาคุณภาพและมาตรฐานของสินค้า รวมถึงการส่งเสริมด้านการตลาด ทุกท่านสามารถร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการ GI และอุดหนุนสินค้า GI ไทย โดยติดตามข้อมูลสินค้า GI