
วันนี้ (23 เม.ย.68) นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจำเป็นต้องออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ วงเงิน 500,000 ล้านบาท ในเร็วๆ นี้ เพื่อรักษาการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
หลังจากประเมินผลกระทบจากการขึ้นภาษีของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ลดลง 1% เหลือ 2% ขณะที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) คาดว่าจีดีพีไทยปีนี้ จะลดลงเหลือ 1.8% เท่านั้น

นายพิชัย กล่าวว่า การรักษาระดับจีดีพี ให้มีอัตราการเติบโตที่ระดับ 3% มีวัตถุประสงค์ เพื่อลดกระทบจากมาตรการที่รุนแรงของประธานาธิบดีสหรัฐฯ และยังลดผลกระทบที่เกิดจากสงครามการค้าอีกด้วย
โดยเม็ดเงิน 500,000 ล้านบาท จะเป็นโครงการที่เน้นการลงทุน และการบริโภคภายในประเทศเป็นหลัก ไม่ใช่โครงการลงทุนเพื่อสนับสนุนการส่งออก เนื่องจากในปีนี้ การส่งออกคงได้รับผลกระทบจากสงครามการค้าอย่างทั่วหน้า
“มาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ระหว่างการหารือในช่วงนี้ เน้นไปในเรื่องการเพิ่มกำลังซื้อภายในประเทศเป็นหลัก เพื่อให้ประชาชนมีกำลังซื้อมากขึ้น ซึ่งกระทรวงการคลัง กำลังรวบรวมมาตรการและศึกษาเพิ่มเติม โดยหนึ่งในหลายๆ มาตราการมีมาตราการคนละครึ่งรวมอยู่ด้วย แต่ยังบอกไม่ได้ว่า จะมีมาตราการอะไรออกมาบ้าง”นายพิชัยกล่าว
ทั้งนี้ สำหรับที่มาของแหล่งเงิน 500,000 ล้านบาท กำลังพิจารณาว่า มาจากส่วนใดได้บ้าง เพราะขณะนี้ รัฐบาลมีมาตาการดิจิทัล วอลเล็ต ที่กำลังออกมาในไตรมาส 2 อายุ 16 ปี ไม่เกิน 21 ปี โดยเม็ดเงินในโครงการนี้ ตั้งงบประมาณเอาไว้ทั้งหมด 150,000 ล้านบาท จึงต้องมาทบทวนว่า รัฐบาลควรดำเนินโครงการใดก่อนหลัง เพราะงบประมาณมีอยู่อย่างจำกัด

นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ขณะนี้ กระทรวงการคลังกำลังวางแผนโครงการต่าง ในวงเงิน 500,000 ล้านบาท โดยสามารถดึงแหล่งเงินได้จากที่ เช่น การเกลี่ยงงบลงทุนในงบประมาณรายจ่ายปี 2568
และการปรับเปลี่ยนโครงการในงบประมาณปี 2569 ที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณในสภาฯ รวมถึงแหล่งเงินนอกงบประมาณ ที่มาจากการปล่อยกู้ของธนาคารเฉพาะกิจ ก็สามารถออกแบบให้มีความเหมะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ได้
“ตอนนี้ ยังบอกไม่ได้ว่า จะดำเนินโครงการอะไรบ้าง เพราะการขึ้นภาษีของทางสหรัฐฯ เองก็ยังไม่จบ ยังไม่นิ่ง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่เราก็ต้องเตรียมความพร้อม ซึ่งมีทั้งมาตรการระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว โดยมีเป้าหมายคือ การเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน ซึ่งคาดว่า เดือนพ.ค.นี้ จะมีความชัดเจนทั้งหมด”นายลวรณ กล่าว
นายลวรณ กล่าวว่า ไม่ต้องห่วงถ้ารัฐบาลจะกู้เงินเกินเพดานวินัยการเงินการคลัง ปัจจุบันกำหนดไม่เกิน 70% ของจีดีพี โดยในเดือนมี.ค. หนี้สาธารณะต่อจีดีพี อยู่ที่ 64% หากรัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงิน 500,000 ล้านบาท คิดเป็น 0.30% ของจีดีพี ก็ไม่ยังเกิน 70%
“ที่สำคัญ เงินที่ใช้ในการโครงการเป็นมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อรักษาระดับจีดีพีและนำไปสู่การรักษาความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการชำระหนี้ จึงไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด”นายลวรณ กล่าว