เปิดทุกข้อสงสัย “รัฐบาล” โอนเงิน 10000 เฟส 2 กลุ่มอายุ 60 ปี

เปิดทุกข้อสงสัย “รัฐบาล” โอนเงิน 10,000 เฟส 2 ให้กลุ่มกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ภายใน 29 ม.ค.นี้

ใกล้เข้ามาแล้วกับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ พ.ศ.2567 หรือการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ให้กับกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือเฟส 3 โดยรัฐบาลกำหนดการโอนเงิน 10,000 บาทไว้ไม่เกินวันที่ 29 ม.ค.68 ซึ่งในรอบนี้จะโอนเงินในรูปแบบเงินสด เบื้องต้นคาดว่ามีจำนวน 4 ล้านคน

วันนี้ (9 ม.ค.68) ผู้สื่อข่าวได้รวบรวมข้อมูลจากรัฐบาล โดยกระทรวงการคลัง และรายละเอียดต่างๆ ไว้ เพื่อตอบข้อสงสัยในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ดังนี้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


กลุ่มเป้าหมายรับสิทธิ เฟส 2

  • ผู้ที่ลงทะเบียนผ่านแอปฯ ทางรัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 23 เม.ย.67 สำเร็จ
  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ 15 ก.ย.67 (เกิดก่อนหรือในวันที่ 16 ก.ย.07)

คุณสมบัติเพิ่มเติม

  • ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 66
  • ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากรวมกันเกิน 500,000 บาท ณ วันที่ 30 มิ.ย.67
  • ไม่เป็นผู้อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ วันที่ 30 พ.ย.67
  • ไม่เป็นผู้ต้องขัง 4 ประเภท ได้แก่ นักโทษเด็ดขาด ผู้ต้องขังระหว่าง ผู้ต้องกักขัง และผู้ต้องกักกัน ตามฐานข้อมูลของกรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 30 พ.ย.67
  • ไม่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 67 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ

ตรวจสอบสิทธิ์ช่องทางใด

  • วิธีการประกาศรายชื่อ จะใช้ช่องทางของแอปพลิเคชั่น “ทางรัฐ” เนื่องจากเป็นช่องทางที่ลงทะเบียน ดังนั้น กระทรวงการคลัง จะส่งผลการตรวจสอบไปให้กับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA เพื่อให้นำเข้าระบบแอปฯ ทางรัฐ

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์วันใด

  • ประมาณวันที่ 20-21 ม.ค.นี้

ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจสอบสิทธิเงินดิจิทัล 10,000 บาท ดังนี้

1. เปิดแอปฯทางรัฐ ทำการเข้าสู่ระบบให้เรียบร้อยจากนั้นกดปุ่ม ตรวจสอบสถานะ
2. ระบบอนุญาติเข้าถึงข้อมูลและขอยืนยันเบอร์โทรศัพท์มือถือเพื่อใช้ในการยืนยันตัวตนให้ท่านกดปุ่ม ยืนยันข้อมูล
3. กรอกเบอร์โทรศัพท์และกดปุ่ม รับรหัสทาง SMS (OTP)
4. กรอกรัหส OTP และกดปุ่มยืนยันโทรศัพท์มือถือ
5. จากนั้นกดปุ่ม อนุญาต ให้แอปฯ เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
6. ระบบจะแสดงผลว่า สถานะในการับสิทธิ ตามโครงการเติมเงิน 10,000 บาท อยู่ในขั้นตอนใด

สถานะแต่ละขั้นตอนมีความหมายว่าอย่างไร

  • ขั้นตอนที่ 3 คือ ระบบอยู่ระหว่างการตรวจสอบสิทธิ
  • ขั้นตอนที่ 4 คือ ไม่ได้รับสิทธิ
  • ขั้นตอนที่ 5 คือ ได้รับสิทธิตามโครงการเติมเงินดิจิทัล 10,000 บาท

แนะผู้มีสิทธิผูกพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชน

  • เน้นย้ำให้กลุ่มเป้าหมายตามโครงการฯ ดำเนินการตรวจสอบบัญชีธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนว่ายังสามารถใช้งานได้หรือไม่
  • หากยังไม่ได้ผูกพร้อมเพย์ขอให้ดำเนินการผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชนเพื่อรับสิทธิตามโครงการฯ

สมัครพร้อมเพย์ ทำได้ผ่านช่องทางไหน

การสมัครบริการพร้อมเพย์ เพื่อรับเงินสวัสดิการจากรัฐ ผ่านหมายเลขบัตรประชาชน สามารถสมัครได้ผ่านช่องทาง ดังนี้

1.สาขาของธนาคารที่มีบัญชีอยู่
2.แอปพลิเคชันโมบายแบงกิ้งของแต่ละธนาคาร
3.ตู้เอทีเอ็มของแต่ละธนาคาร

โดยการผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน กรณีทำรายการที่สาขาธนาคาร ต้องเตรียมสมุดบัญชีเงินฝาก และบัตรประชาชนตัวจริง เพื่อทำธุรกรรม

ทั้งนี้ 1 หมายเลขบัตรประชาชน สามารถผูกบัญชีได้เพียง 1 บัญชีเท่านั้น ทุกธนาคารรวมกัน หากมีต้องการเปลี่ยนธนาคารที่ต้องการผูกพร้อมเพย์ บัตรประชาชน ต้องติดต่อธนาคารที่ทำรายการผูกไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อทำการสมัครพร้อมเพย์ หมายเลขบัตรประชาชน กับบัญชีอื่น ๆ

วิธีตรวจสอบพร้อมเพย์ ผูกบัญชีธนาคารไหน

สำหรับวิธีตรวจสอบการผูกพร้อมเพย์กับหมายเลขบัตรประชาชน กรณีไม่แน่ใจว่าบัตรประชาชนผูกกับพร้อมเพย์บัญชีธนาคารไหน สามารถตรวจสอบได้ผ่านแอปพลิเคชั่นธนาคาร โดยมีขั้นตอน ดังนี้

1.เข้าแอปฯ ของธนาคารที่ผูกพร้อมเพย์
2.เลือกเมนู บริการพร้อมเพย์
3.ระบบจะแสดงข้อมูลการผูกพร้อมเพย์ ว่าผูกกับบัญชี/ธนาคารไหน

วิธีสมัครพร้อมเพย์ ผูกเลขบัตรประชาชน ผ่านช่องทางดิจิทัลของธนาคารต่างๆ

  • สำหรับวิธีการผูกพร้อมเพย์ด้วยหมายเลขบัตรประชาชน ผ่านช่องทางดิจิทัลของธนาคารต่างๆ (ตู้เอทีเอ็ม และโมบายแบงกิ้ง) สามารถทำได้ผ่านธนาคาร

หากรัฐบาลโอนเงินไม่สำเร็จ

  • กรณีที่จ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายไม่สำเร็จในครั้งแรก จะมีการดำเนินการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวจำนวน 3 ครั้ง
  • เมื่อพ้นกำหนดการ Retry ครั้งที่ 3 แล้ว รัฐจะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ