ศบค.เผยเปิดให้ต่างชาติมารักษาในไทย เริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค.

ศบค.นำเสนอร่างจัดการข้อปฏิบัติ (Medical and wellness) การอนุญาตชาวต่างชาติมาเข้ามารักษาในโรงพยาบาลไทยสำหรับเสริมความงามและป่วยระยะสั้น พร้อมกักตัว 14 วัน และจัดแพ็กเกจเที่ยวหลังรักษาหาย

หลังจากศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ประจำวันที่ 3 ก.ค.63 ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 1 ราย หายป่วยเพิ่มสะสม 3,066 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ทำให้ยอดสะสมเป็น 3,180 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 56 ราย

ภาพจากอีจัน

ขณะเดียวกันนายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก เปิดเผยว่า ศบค.ชุดเล็กมีการพิจารณานำเสนอร่างจัดการข้อปฏิบัติ
Medical and wellness คือการอนุญาตชาวต่างชาติมาเข้ามารักษาในโรงพยาบาลไทย ซึ่งจะเริ่มระยะที่ 1 คือ วันที่ 1 กรกฎาคม ให้ Medical and wellness program เข้ามาได้
วันที่ 1 สิ่งหาคม ให้กลุ่มของผู้ป่วยซึ่งไม่ได้ป่วยเป็นโรคโควิด-19 แต่เป็นกลุ่มคนผู้ที่เข้ามาเพื่อเสริมความงามหรือรักษาโรคในระยะสั้น แต่จะต้องอยู่ในโรงพยาบาล(รพ.) อย่างน้อย 14 วัน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังโรคที่เหมือนกับการอยู่ในสถาน
กักกันโรคของรัฐ (State Quarantine) แต่หากออกจาก รพ.แล้วก็สามารถเดินทางในประเทศไทยได้



รวมถึงการอยู่ในวิลล่าที่มีพื้นที่จำกัดเฉพาะในการพักอาศัย ระยะที่ 3 ส่วนในช่วงวันที่ 1 กันยายน จะเป็นส่วนของทราเวล บับเบิล (Travel Bubble) จะอนุญาตให้การเดินทางเข้ามาได้ โดยอาจจะเริ่มเฉพาะกลุ่มที่สามารถควบคุมได้ก่อน


โฆษก ศบค.บอกอีกว่า “สำหรับกลุ่มผู้เดินทาง 11 กลุ่ม ที่ได้ประกาศไปแล้วนั้น เน้นในผู้ป่วยหรือนักธุรกิจ ไม่ใช่การท่องเที่ยว และในตอนนี้ได้เตรียม รพ. สำหรับการทำเป็น Hospital Quarantine โดยจะต้องอยู่ รพ. 14 วัน หากมาทำจมูกแค่ 3 วัน แล้วแผลหายแล้ว แต่ก็จะต้องอยู่ รพ.ให้ครบ 14 วัน เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการนำเชื้อเข้ามา หากป่วยก็จะทำการรักษาทันที

ส่วน Alternative Hospital Quarantine สำหรับผู้เดินทางและมีผู้ติดตามหรือเป็นกลุ่ม โดยจะเน้นการอยู่ใน รพ.เอกชน เช่น การทำกิ๊ฟท์ในผู้ที่มีบุตรยาก โดยภรรยาอาจเดินทางมาพร้อมกันกับสามี จะต้องอยู่ให้ครบ 14 วัน และก่อนเข้ามาต้องตรวจหาเชื้อ ระหว่างอยู่ก็ตรวจและก่อนอกไปก็จะต้องตรวจ นับเป็น 3 ครั้ง ในระหว่างการอยู่ใน รพ. โดยขณะนี้มี รพ.ที่สมัครเข้ามาประมาณ 62 แห่ง และจะรับเฉพาะการเดินทางโดยสายการบินเท่านั้น เนื่องจากทางบนหรือด่านพรมแดน ยังควบคุมได้ยาก”


นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มี 17 ประเทศ จำนวน 1,700 คน ที่ขอเดินทางเข้ามาในเดือนกรกฎาคมนี้ เช่น เมียนมา เวียดนาม จีน กาตาร์ โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อภายหลัง 15 วันที่ครบระยะการเฝ้าระวังโรคแล้ว จะมีโปรแกรมเดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย เช่น นวด สปา นวดสมุนไพร อยู่โรงแรม หรือ รพ.เพื่อดูแลสุขภาพ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจทางด้านการแพทย์หรือสุขภาพ แต่มีการวางแผนโดยกระทรวงสาธารณสุข จะต้องจัดการทรัพยากรเผื่อการระบาดระลอกที่ 2 ป้องกันการแย่งใช้ทรัพยากรกัน

ภาพจากอีจัน

ทั้งนี้หากมีผู้ติดตามหรือญาติของผู้ป่วยเดินทางเข้ามาด้วย จะมีการจัดการอย่างไรและหากจะทำการรักษาแต่อยู่ไม่ครบ 14 วันได้หรือไม่ นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ติดตามเดินทางมาด้วยไม่เกิน 3 คน และต้องลงทะเบียน พร้อมมีใบนัดหมายกับแพทย์ในประเทศไทยให้เรียบร้อย และจะต้องผ่านใบอนุญาตเข้ามาที่ออกโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แต่เมื่อเข้ามาแล้วจะต้องอยู่ในครบ 14 วัน หากจะออกก่อนไม่สามารถทำได้

ส่วนข้อกังวลในการระบาดระรอก 2 การเปิด Medical and wellness จะเป็นการแย่งใช้ทรัพยากรในประเทศหรือไม่นั้น พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขา สมช. ระบุว่า ต้องให้สาธารณสุขประเมินความพร้อมทั้งจำนวนเตียง อุปกรณ์ และบุคลากรทางการแพทย์ให้เพียงพอหากเกิดการระบาดระลอก 2 ซึ่งต้องไม่แย่งการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ของคนภายในประเทศ

ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน
ภาพจากอีจัน